ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

ศูนย์หัวใจ วิชัยเวช เป็นศูนย์หัวใจ 24 ชั่วโมง ให้บริการตรวจ ความผิดปกติของโรคหัวใจทุกชนิดทั้งในภาวะปกติ และภาวะฉุกเฉินโรคหัวใจ ด้วยหมอหัวใจที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รักษาโรคหัวใจ แต่กำเนิด โดยการสวนหัวใจ การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน และใส่ขดลวด

ศูนย์หัวใจ วิชัยเวช ให้บริการตรวจ รักษาโรคหัวใจ ตั้งแต่การป้องกันโรคหัวใจ การวินิจฉัยอาการโรคหัวใจเบื้องต้น การรักษาโรคหัวใจ และการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ผ่าตัดโรคหัวใจ โดยหมอหัวใจ คณะแพทย์และทีมงานมาตรฐานโรงเรียนแพทย์ มีแพทย์หัตถการ และศัลยแพทย์ ผ่าตัดหัวใจ พร้อม 24 ชั่วโมง เครื่องมือและเทคโนโลยีรักษาโรคหัวใจ ที่ทันสมัยและเพียบพร้อม ทีมหมอหัวใจ พยาบาล และเจ้าหน้าที่โรคหัวใจ พร้อม 24 ชั่วโมง พร้อมหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติโรคหัวใจ และผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ CCU และรถพยาบาลฉุกเฉินโรคหัวใจ บริการ 24 ชั่วโมง

นำทีมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด นพ.วัฒนา บุญสม ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจกลุ่มโรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

การวินิจฉัยโรคหัวใจ

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ  Electrocardiography (EKG) – การตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมาขณะที่หัวใจบีบตัว เป็นวิธีการตรวจหาโรคหัวใจที่ง่าย ได้ผลดี ไม่เจ็บ ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที     การตรวจนี้อาจให้ผลปกติ ในภาวะที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในระยะเริ่มต้น ถ้าสงสัยควรตรวจซ้ำ
  • การบันทึกคลื่นหัวใจแบบพกพา 24 ชม.  Holter Monitor  – เป็นการติดเครื่องมือที่บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชม. ไว้กับตัวผู้ป่วยตลอดเวลาขณะมีกิจกรรมในชีวิตประจำวัน  โดยที่ผู้ป่วยสามารถกลับไปพักที่บ้าน หรือทำงานได้ตามปกติ เครื่องจะทำการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เมื่อครบกำหนด 24 ชม. ผู้ป่วยจึงกลับมาถอดเครื่องเพื่อให้แพทย์อ่านผลและวินิจฉัยว่ามีหัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง  Echocardiography – การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงระบบดิจิตอลผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจ ด้วยหัวตรวจชนิดพิเศษทำให้เห็นภาพของห้องหัวใจและการบีบตัว  ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรค พยากรณ์โรค ตรวจหาความรุนแรงของโรค และติดตามผลการรักษาในโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังเดินสายพาน Exercise Stress Test – เป็นการตรวจหาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่เกิดในขณะออกกำลังด้วยการเดินบนสายพานที่เคลื่อนที่เร็วขึ้นเรื่อยๆ    การออกกำลังนี้ หัวใจจะมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอ  ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด จะพบอาการแสดงและการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้

การตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาในห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ Cardiac Catheterization Laborator

  • การสวนหัวใจและฉีดสีตรวจหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization & Angiography)
  • การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและการดามด้วยขดลวด (Percutaneous Transluminal Coronary Intervention)
  • การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร (Permanent Pacemaker)
  • การฝังเครื่องเฝ้าดูและกระตุ้นหัวใจแบบอัตโนมัติ (Automated Implantable Cardioverter Defibrillators ; AICD)
  • การใส่เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจ (Intra Aortic Balloon Pump ; IABP)
  • การจี้ไฟฟ้าหัวใจ (Radiofrequency Ablation)

การรักษาด้วยการผ่าตัด

  • การผ่าตัดบายพาสหัวใจ (Coronary Artery Bypass Grafting ; CABG)
  • ผ่าตัดซ่อม/เปลี่ยนลิ้นหัวใจ (valvular repair/replacement)
  • ผ่าตัดโรคหัวใจแต่กำเนิด (Congenital heart disease correction)