คลินิกแพทย์แผนจีน

ศาสตร์การแพทย์แผนจีนและการฝังเข็ม

ได้รับการยอมรับให้เป็นบริการรักษาพยาบาลอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพ ลดการรับประทานยาที่เกินความจำเป็นปัจจุบันโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนหลายแห่งในประเทศไทย ได้จัดให้มีบริการรักษาผู้ป่วยนอกด้วยการฝังเข็มควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบันด้วย

“ชนิดการรักษาในศาสตร์แพทย์จีน”

  • การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
    เมื่อฝังเข็มแล้ว ใช้สายไฟเชื่อมต่อเข็มกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดพิเศษเป็นกระแสไฟตรง เพียง 9 โวลท์ จึงไม่ทำให้เกิดไฟดูดได้ แต่จะกระตุ้นกล้ามเนื้อเป็นจังหวะตามกระแสไฟฟ้า ทำให้เข็มกระดิกตามและไม่ทำให้เจ็บปวดจนทนไม่ได้
  • การคลอบแก้ว
    เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่มีการติดขัดทำให้รักษาอาการปวดได้ หลังจากการทำแล้ว บริเวณผิวหนังอาจมีสีม่วงคล้ำเป็นจ้ำ แต่ไม่มีอันตรายและจะหายได้เองในเวลา 1-2 สัปดาห์
  • การฝังเข็มรักษาโรคได้อย่างไร
    การฝังเข็มทำให้เลือดและระบบลมปราณที่ติดขัดไหลเวียนดีขึ้น ช่วยให้อวัยวะในร่างกายทำงานได้สมดุล เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยที่ก่อโรคและช่วยให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง คลายตัว ยับยั้งความเจ็บปวดได้
  • การฝังเข็มทำอย่างไร เจ็บหรือไม่?
    วิธีการฝังเข็มแพทย์จะใช้เข็มปราศจากเชื้อ มีขนาดเล็กและบางมาก เป็นเข็มตันปลายตัด ไม่มีสารเคมีหรือยาชนิดใดเคลือบอยู่ซึ่งจะแทรก ระหว่างเนื้อเยื่อผ่านลงไปในผิวและปักลงใน
    จุดลมปราณต่างๆของร่างกาย แล้วกระตุ้นโดยใช้มือ หรือใช้เครื่องไฟฟ้ากระตุ้นโวลต์ต่ำใช้เวลาประมาณ 30 นาทีแล้วจึงถอนออก ขณะที่เข็มผ่านผิวหนังจะมีอาการเจ็บอยู่บ้างแต่ไม่มาก และ
    เมื่อเข็มแทงเข้าไปลึกถึงตำแหน่งของจุดฝังเข็ม จะมีอาการปวดตื้อๆหรือปวดหน่วงๆ และปวดร้าวไปตามทางเดินของเส้นลมปราณ “เข็มที่ใช้….จะใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งไม่นำกลับมาใช้อีก”
  • ต้องมารับการฝังเข็มรักษานานเท่าไหร่ ?
    ควรมาฝังเข็มสัปดาห์ละ 2 ครั้งและจะต้องมาอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 10 ครั้ง หรือแล้วแต่การพิจารณาของแพทย์
  • โรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม
    – กลุ่มอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดหลัง ปวดต้นคอ ปวดไหล่ ปวดข้อเข่า ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน ปวดประจำเดือน ปวดข้อรูมาตอยด์
    – กลุ่มความงามและผิวหนัง เช่น สิว ฝ้า กระ หน้าใส ผมร่วง ผมบาง ลดความอ้วน กระชับสัดส่วน เพิ่มน้ำหนักในคนผอม
    – กลุ่มโรคอื่นๆ เช่น
    อัมพฤกษ์ อัมพาต แขนขาอ่อนแรงและผลข้างเคียง
    หลังจากป่วยด้วยโรคทางสมอง
    โรคเครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า วัยทอง
    โรคเบาหวาน ที่มีกลุ่มอาการชาปลายมือ ปลายเท้า
    ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
    โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน
    โรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น กรดไหลย้อน
    สะอึก กรดในกระเพาะมาก ท้องผูก ท้องเสีย
    โรคภูมิแพ้ หวัดเรื้อรัง หอบหืด
    โรคทางหู เช่น มีเสียงดังผิดปกติในหู หูดับ