CALL: 1792

บริการทางการแพทย์

แผนกกายภาพบำบัด

           แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลวิชัยเวช แยกไฟฉาย ให้บริการด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคทางระบบต่างๆ เช่น ระบบกระดูกและข้อ ระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักอรรถบำบัด
          ทีมผู้ให้การรักษา คือ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด, นักกิจกรรมบำบัด และนักอรรถบำบัด โดยให้การดูแลรักษาผู้ป่วยแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
 
          • ในกลุ่มผู้ป่วยโรคทางระะบบประสาท เช่น ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อน ผู้ป่วยอัมพาตทั้งตัว ผู้ป่วยสูงอายุ 
 
o แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นผู้ประเมิน สรุปปัญหาโดยรวมของผู้ป่วย ตั้งเป้าหมายในการรักษาร่วมกับบุคลากรอื่นๆ ในทีม ติดตามการรักษา ประสานงานให้การทำงานของทีมเป็นไปอย่างราบรื่น
o นักกายภาพบำบัดให้การรักษา ฟื้นฟูโดยการออกกำลังกาย การฝึกนั่ง ฝึกยืน เดินโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดร่วมด้วย อาทิเช่น ราวฝึกเดิน บันไดฝึกเดิน เตียงฝึกยืน เครื่องพยุงยืน เครื่องฝึกการทรงตัวในท่ายืน ถุงทราย เป็นต้น
o นักกิจกรรมบำบัดให้การรักษา ฟื้นฟูโดย การฝึกกิจวัตรประจำวัน การฝึกใช้มือ และนิ้ว การฝึกกลืน
o นักอรรถบำบัดให้การรักษา ฟื้นฟูโดยการฝึกพูด การสื่อความ

          • ในกลุ่มผู้ป่วยโรคทางระบบกระดูก และกล้ามเนื้อ ได้แก่ ผู้ป่วยปวดคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดกล้ามเนื้อ หรือโรคกระดูกเสื่อม ให้การรักษาโดยใช้เครื่องมือไฟฟ้าต่างๆ อาทิ เช่น
 
o การใช้เครื่องอัลตราซาวด์ และกระแสไฟฟ้า เพื่อลดอาการปวด คลายกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบ และเพิ่มการไหลเวียนเลือด
o การใช้เครื่อง Short Wave Diathermy เพื่อลดอาการปวด การอักเสบของเส้นเอ็น ข้อต่อและเพิ่มการไหลเวียนเลือด
o การใช้เครื่อง High Power Laser เพื่อลดอาการปวด บวม อักเสบของเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อโดยสามารถเห็นผลการรักษาตั้งแต่รักษาครั้งแรก
o การใช้เครื่อง Shock Wave Therapy เพื่อลดอาการปวด สลายพังผืดในกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ โดยเฉพาะในระยะการอักเสบเรื้อรัง เช่น โรครองช้ำ (Plantar Fasciitis) โรคเอ็นข้อศอกอักเสบ (Tennis Elbow) เป็นต้น
o การใช้เครื่องดึงหลัง ดึงคอเพื่อลดการกดทับเส้นประสาทจากภาวะกระดูกเสื่อม หรือ หมอนรองกระดูกเคลื่อน
 
          • ในกลุ่มผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ผู้ป่วยปอดอักเสบ ผู้ป่วยปวดบวม ผู้ป่วยหลอดลมอักเสบซึ่งมักเกิดในเด็กและผู้สูงอายุ ผู้ป่วยถุงลมโป่งพอง ฝีในปอด  ผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัดช่องท้อง และทรวงอก เป็นต้น ให้การรักษาโดย การเคาะปอด การสั่นปอด การดูดเสมหะ การฝึกหายใจ ฝึกไอ การจัดท่าระบายเสมหะ และการออกกำลังกาย 

          • ในกลุ่มโรคระบบหัวใจ และหลอดเลือด ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ ให้การรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย และการฝึกเคลื่อนย้ายตัวบนเตียง การลุกนั่ง ฝึกยืน เดิน และการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้


การรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูงเลเซอร์ (Laser) CLASS IV
 

คุณลักษณะ High power laser therapy (MLS)

          การรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูงเลเซอร์ (Laser) CLASS IV  เป็นการรักษาแบบ multiwave  locked system  (MLS)   คือการปล่อยคลื่นพลังงาน แบบ synchonizeที่ ความยาวคลื่น 808 nm (ให้ผลลดบวมและอักเสบ) และ 905nm(ให้ผลระงับอาการปวด) สามารถลงผ่านผิวหนังสู่เนื้อเยื่อในตำแหน่งที่ลึกตามเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ และมีประสิทธิภาพ

 
เป็นลักษณะการปรับด้านชีวภาพ (biomodulation)เชื่อว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับ 3 กลไกหลัก ได้แก่

     1. ผลทางเคมี (Photochemical effect)
พบว่าเลเซอร์กระตุ้นให้เกิดการสังเคราะห์ ATP  และกระตุ้นกระบวนการซ่อมแซมและซ่อมสร้างของเนื้อเยื่อ

     2. ผลจากความร้อน (PhotoThermal effect)
เลเซอร์ทำให้เกิดการสั่นของอะตอมในเซลล์ เพิ่มอุณหภูมิในเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เขยายตัวและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลือง  กระตุ้นการแลกเปลี่ยนสารอาหาร และออกซิเจนเข้าสู่เซลล์นำไปสู่การซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ดีขึ้น

     3. ผลทางเชิงกล (PhotoMechanical effect)
เลเซอร์กระตุ้นการจัดเรียงเนื้อเยื่อ (ECM)ให้เป็นระเบียบเพื่อสร้างเนื้อเยื่อใหม่ และกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ระบบน้ำเหลือง เพื่อช่วยลดอาการบวม

 

เลเซอร์กำลังสูงรักษาโรคอะไรได้บ้าง

กลุ่มแรก โรคที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดทั้งหลายในระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ ได้แก่
     • กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ   บาดเจ็บ ฟกช้ำ บวมแดง  อักเสบ เคล็ดขัดยอก  ตามบริเวณคอ บ่า ไหล่ แขน ศอก มือ หลัง เอว เข่า เท้า ยิ่งมีอาการบวมแดง ฟกช้ำ ยิ่งได้ผลดี
     • เอ็นข้อไหล่อักเสบ ไหล่ติดระยะเริ่มแรก
     • เอ็นข้อศอก เอ็นข้อมืออักเสบ

     • ข้อนิ้วมือเสื่อม อักเสบ

     • มือชาจากโรคอุโมงค์ข้อมือ
     • นิ้วล็อค

     • ข้อเข่าเสื่อม กล้ามเนื้อ เอ็น ผังผืดรอบเข่าอักเสบ
     • เอ็นร้อยหวายอักเสบ

     • ข้อเท้าพลิก เคล็ด อักเสบ
     • ผังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ
     • กล้ามเนื้อเอวและสะโพกอักเสบ
     • อาการปวดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือกระดูกเสื่อมกดทับเส้นประสาททั้งที่คอและเอว
     • อาการปวดบวมอักเสบรอบแผลหลังการผ่าตัด
     • อาการปวดศีรษะที่มีสาเหตุมาจากความตึงตัวของกล้ามเนื้อคอ ท้ายทอย

กลุ่มที่ 2 คือ
กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับเส้นประสาทโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่จะมาด้วย อาการปวดและชา ได้แก่

     • มือเท้าชาจากปลายเส้นประสาทอักเสบเนื่องจากโรคเบาหวาน
     • มือเท้าชาจากปลายเส้นประสาทอักเสบเนื่องจากผลแทรกซ้อน จากยา เคมีบำบัด
     • ปวดชาแขนขา  ในระยะฟื้นหลังจากบาดเจ็บเส้นประสาท
     • ปวดชา กล้ามเนื้อยึดเกร็งในผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตจาก โรคหลอดเลือดสมอง หรือจากการบาดเจ็บไขสันหลัง
     • อาการปวดประสาทจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 
     • อาการปวดประสาทจากโรคงูสวัด

กลุ่มที่ 3 คือ
กลุ่มโรคที่มีอาการบวมของแขนขา ได้แก่ 

     • อาการบวมช้ำจากการบาดเจ็บ รวมทั้งเลือดออกใต้ผิว


กลุ่มสุดท้าย คือแผลจากสาเหตุต่างๆ
    • รอยฟกช้ำจากการบาดเจ็บ
    • แผลเบาหวาน 
    • แผลกดทับ
    • แผลจากโรคหลอดเลือด เป็นต้น

จุดเด่นของการรักษาโดย  High power laser therapy (MLS)

  1. สามารถรักษา ได้ทุกช่วงระยะอาการคือ ระยะเฉียบพลัน( acute phase)   ระยะกึ่งเฉียบพลัน( subacute phase) หรือเป็นเรื้อรัง ( chronic  phase)  ซึ่งไดผลดีทุกระยะ
  2. เห็นผลทันทีหลังการรักษา  หายปวดอักเสบไปกว่า 50% ทันที โดยเฉพาะการอักเสบชนิดเฉียบพลัน

           ( acute phase)  อาการบวมตึงลดลง เป็นลำดับ

  1. ลงลึกถึงตำแหน่งของต้นตอความเจ็บปวด ถึง 3-4 เซ็นติเมตร  ดังนั้นจึงบำบัดปวดจากการกดทับรากประสาทที่บริเวณเอวและคอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. การรักษาต่อครั้ง  ใช้เวลาไม่นาน  2-5 นาที ต่อจุด หรือบริเวณหนึ่งๆ ขณะทำการรักษาไม่ปวด
  3. แผนการรักษาใช้ระยะเวลาสั้น  โดยลำแสงเลเซอร์ ช่วยให้การฟิ้นตัวของเนื้อเยื่อรวดเร็ว มากขึ้น  ผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บเฉียบพลัน ใช้เวลารักษาประมาณ 3-5 ครั้ง ขณะที่ผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บเรื้อรัง  จะใช้เวลาในการรักษา 10-15 ครั้ง โดยประมาณ
  4. มีหัวที่ใช้การรักษา 2 ขนาด ทำการรักษาได้ตั้งแต่  3- 20 ตารางเซ็นติเมตร
  5. สามารถหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับตัวผู้ป่วยโดยตรงได้ โดยการตั้งหัวเครื่องแบบ Charlie probe  (เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โควิด19)
  6. ทำเหนือบริเวณที่ผ่าตัดใส่เหล็กได้
  7. ทำเหนือบริเวณที่เปลี่ยนข้อเทียมได้
 
สอบถามรายละเอียดได้ที่ แผนกกายภาพบำบัด อาคาร 2 ชั้น 3
โทร. 02 412 0055 - 60 ต่อ 2300

แพ็คเกจ & โปรโมชั่น