CALL: 1792

บทความเพื่อสุขภาพ

เมื่อไรควรใส่ฟันปลอม

23/04/2564

ถ้าคุณเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ฟันห่าง ฟันล้มเก ไม่สวย อาจถึงเวลาที่ต้องใส่ฟันปลอมหรือฟันเทียม แต่การใส่ฟันปลอมในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เพราะเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถช่วยให้ผู้ที่สูญเสียฟัน กลับมามีฟันทดแทน เพื่อที่จะมาเสริมความมั่นใจให้เรากลับมายิ้มได้ อย่างเต็มที่อีกครั้ง

ฟันปลอมหรือฟันเทียม คืออะไร

ฟันปลอม คือฟันที่ถูกทำขึ้นโดยทันตแพทย์ อาจจะใช้คำว่า “ฟันปลอม” หรือ “ฟันเทียม” ก็ได้ ซึ่งจะหมายถึง อะไรก็ตามที่เป็นซี่ฟันให้เราใส่ทดแทนฟันเดิมที่สูญเสียไป เพราะฉะนั้นผู้ที่ควรใส่ฟันปลอม คือ ผู้ที่มีปัญหาฟันผุ ฟันหัก ฟันแตก จนไม่สามารถบูรณะฟันขึ้นมาได้แล้ว หรือกรณีคนไข้ที่ถอนฟันจากฟันโยก เพราะเหงือกอักเสบ

ฟันปลอมหรือฟันเทียม มีกี่แบบ?

ฟันปลอมหรือฟันเทียม หลัก ๆ จะแบ่งออกเป็น 2  ประเภท

  1. การใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ ซึ่งจะมีทั้งแบบที่ทำจากโลหะ หรือทำจากพลาสติก ค่าใช้จ่ายต่างกัน ความยากง่ายก็ต่างกัน แบ่งออกเป็น
  • ฟันปลอมถอดได้ฐานพลาสติก หรือฟันปลอมอะคลิลิค ฟันปลอมลักษณะนี้จะราคาไม่แพง แต่มีโอกาสที่จะแตกหักได้ง่าย ฐานมีความหนาประมาณ 2 มิลลิเมตร ซึ่งเวลาใส่อาจจะรู้สึกไม่สบาย อึดอัด รำคาญในช่วงของการใส่แรก ๆ และเนื่องจากฐานเป็นพลาสติก การติดสี ติดกลิ่นก็จะมีมากกว่า หรือการทำความสะอาดก็จะยากกว่าแบบที่เป็นโลหะ
  • ฟันปลอมแบบถอดได้ฐานโลหะ จะใส่ง่ายใส่สบาย การดูแลทำความสะอาดง่ายกว่าฟันปลอมที่เป็นฐานพลาสติก เพราะฐานจะบางกว่า การพูดจะชัดมากกว่าคนที่ใส่ฟันปลอมฐานพลาสติก เพราะฉะนั้นฟันปลอมในรูปแบบนี้จะแข็งแรงกว่า และมีอายุการใช้งานที่มากกว่า
  • ฟันปลอมถอดได้ แบบฐานพลาสติกยืดหยุ่น หรือที่เรียกว่า Valplast ฟันปลอมลักษณะนี้เหมาะกับคนที่ใส่ไม่กี่ซี่ ไม่เหมาะกับการใส่ทั้งปาก

สรุปข้อดีของฟันปลอมแบบถอดได้

  • ง่ายในการถอดทำความสะอาด และเมื่อถอดออกมาทำความสะอาดทำให้สามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้ดีกว่า
  • ใส่ฟันได้หลายซี่หรือทั้งปาก
  • ราคาถูกกว่าฟันปลอมแบบติดแน่น

ข้อเสียของฟันปลอมแบบถอดได้

  • อาจเกิดความรำคาญ เพราะมีส่วนของฐานที่ต้องคลุมเพดานปากไว้
  • อาจทำให้พูดไม่ชัด ออกเสียงบางเสียงไม่ถนัด
  • อาจมองเห็นตะขอได้ง่ายกว่าการใส่ฟันปลอมแบบติดแน่น
  • มีแรงบดคี้ยวน้อยกว่าฟันปลอมแบบติดแน่น
  1. การใส่ฟันปลอมแบบติดแน่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
  • รากเทียม จะเป็นเหมือนรากฟันอันใหม่ ใส่เข้าไปในส่วนที่เราถอนออกไปแล้ว แล้วก็มีครอบฟันมาต่อข้างบนรากเทียมอีกที ข้อดีก็คือ สะดวกสบายไม่ต้องถอดเข้าถอดออก คล้ายฟันจริง ช่วยรักษาและคงสภาพกระดูกไม่ให้ละลายตัวได้ ถือเป็นฟันปลอมชนิดเดียวที่มีรากฟันลงไป ก็คือรากเทียม
  • สะพานฟัน จะเป็นเหมือนครอบฟัน 3 ซี่ติดกัน หรือการครอบฟัน 3 หรือ 4 ซี่ตติดกัน ข้อดีคือ สะดวก ไม่ต้องถอดเข้าถอดออกและติดแน่น แต่ข้อเสียคือ อาจจะต้องเสียเนื้อฟัน สำหรับฟันที่ต้องเป็นตัวหลักยึดหัวท้าย เพราะจะต้องมีการกรอฟันออกโดยรอบเพื่อทำการใส่ครอบฟัน และหากในอนาคตทำความสะอาดไม่ดี ในส่วนของขอบครอบฟันก็อาจจะผุได้ รั่วได้ ซึ่งหากรุนแรงไม่สามารถแก้ไขได้ ก็อาจทำให้เสียฟันซี่หัวท้ายไปด้วยซึ่งหากเปรียบเทียบกันระหว่างรากเทียมกับสะพานฟัน ก็จะแนะนำการทำรากเทียมมากกว่า เนื่องจากไม่ต้องกรอฟันด้านข้าง

ข้อดีของการใส่ฟันปลอม

  • ใส่ฟันปลอมหรือฟันเทียมแล้วทำให้ช่องฟันที่หายไปดูสวยงามขึ้น
  • บางรายอาจจะช่วยเรื่องของการพูดให้ชัดขึ้น เพราะว่าบางครั้งการที่ฟันบางซี่หายไปจะทำให้พูดไม่ชัด
  • ช่วยในเรื่องของการบดเคี้ยวอาหาร ทำให้สะดวกมากขึ้น
  • เพื่อประคองฟันซี่อื่นไม่ให้ล้มเกในอนาคต

ปัญหาที่จะเกิดขึ้นหากสูญเสียฟันและไม่ใส่ฟันปลอม

  • ฟันด้านข้าง อาจมีอาการโยก ล้ม เอียง
  • มีปัญหาฟันห่าง
  • เศษอาหารติดซอกฟันได้ง่าย ทำให้เกิดอาการฟันผุ หรือเหงือกอักเสบ
  • ทำให้เกิดพฤติกรรมเคี้ยวอาหารข้างเดียว
  • เสียบุคลิกภาพ
  • พูดไม่ชัด
  • ไม่สามารถออกเสียงตัวอักษรบางตัวได้ชัดเจน

การดูแลรักษาฟันปลอมหรือฟันเทียม

ฟันปลอมโดยพื้นฐานไม่ว่าจะทำจากอะไรก็ตามแต่ กรณีที่เป็นฟันปลอมแบบถอดได้ ตัวฟันจะเป็นพลาสติก สามารถล้างและแปรงฟันได้ตามปกติเหมือนฟันธรรมชาติ แต่ว่ายาสีฟันที่เราใช้ จะเป็นผงขัดที่เป็นเนื้อหยาบ ถ้าหากแปรงฟันปลอมบ่อยๆ ก็มีโอกาสทำให้ซี่ฟันปลอมสึกได้ ข้อแนะนำอาจจะใช้แค่น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดก็จะเป็นวิธีการถนอมฟันปลอมให้ไม่สึก และสามารถใช้งานไปได้นานกว่า

ติดต่อศูนย์ทันตกรรม รพ. วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย โทร. 02-441-7899 หรือ 1792
หรือติดต่อได้ผ่านช่องทาง Line
หรือสามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ

บทความแนะนำ

16/10/2567

ลมและแดดจ้า ทำลายดวงตากว่าที่คิด ระวัง!! ต้อลม

แสบตา เคืองตา น้ำตาไหล... รู้สึกไม่สบายตา โดยเฉพาะเมื่อเจอลมแรงๆ หรือแสงแดดจ้า ตาแดงก่ำ คันยุบยิบ น้ำตาไหลตลอดเวลา บางครั้งมีขี้ตาเยอะผิดปกต...

16/10/2567

ต้อหิน ไม่เข้าใจ ไม่ระวัง อาจมองไม่เห็นตลอดชีวิต

         "ต้อหิน" ภัยเงียบที่ค่อยๆ ทำลายเส้นประสาทตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว ท...

รายชื่อแพทย์ในศูนย์บริการนี้