จากข่าวที่เราเห็นบ่อย ๆ นะครับว่า หลายคนสุขภาพแข็งแรง ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่เคยมีอาการว่าเป็นโรคหัวใจ แต่ทำไมถึงเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจได้ ซึ่งจากสถิติในประเทศไทยพบว่าร้อยละ 45 ของการเสียชีวิตเฉียบพลัน เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งโรคนี้มักเกิดขึ้นทันทีแบบเฉียบพลันเช่น ขณะปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ทำงาน เล่นกีฬาเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและก่อตัวเป็นตะกรัน โดยหลอดเลือดเมื่อเกิดการร่อนหลุดของตะกรัน ทำให้มีการอุดตันของหลอดเลือด อาจทำให้เสียชีวิตเฉียบพลัน ซึ่งระยะเวลา สามารถเกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมง และที่สำคัญมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตเฉียบพลันจากโรคหัวใจ ไม่เคยแสดงอาการมาก่อน
นพ.วัฒนา บุญสม ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจ รพ.วิชัยเวชฯหนองแขม ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ครับ
“บางคนเข้าใจว่าหลอดเลือดหัวใจที่ทำให้เกิดอันตราย หรือทำให้เสียชีวิต จะมีอาการค่อย ๆ เป็นค่อย ๆไป แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่แบบนั้น ความเป็นจริง หลอดเลือดหัวใจตีบ บางครั้งอาจจะตีบ 20-30% กลุ่มนี้ออกกำลังกายก็ไม่มีอาการอะไรนะครับ เพราะฉะนั้นคนที่เป็น จะไม่รู้ว่าตัวเองเป็น พวกนี้วิ่งมาราธอนก็ไม่มีอาการ
แต่ว่าเมื่อไหร่ที่หลอดเลือดตีบมาก ๆ ถ้าเกิดมีการอักเสบเยอะ หลอดเลือดที่ตีบ บางครั้งจะมีการฉีกขาดจากผนังด้านใน ทำให้หลอดเลือดจากที่ตีบ 20-30% อาจจะอุดตันเฉียบพลัน หรืออุดตัน 100% ไปเลยก็ได้ ถ้าถึงจุดนั้นไปโรงพยาบาลไม่ทันก็อันตรายถึงกับชีวิต ระยะเวลาจากตีบ 20-30% จนถึงอุดตัน อาจจะใช้เวลาไม่นาน อาจจะแค่ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง หรือใช้เวลาเป็นวัน ถ้าตอนที่เราเริ่มมีอาการแน่นหน้าอกผิดปกติ และไปหาคุณหมอทัน ดูแลทัน อาจจะป้องกันภาวะฉุกเฉินที่อันตรายถึงแก่ชีวิตได้
อีกภาวะนึงที่สามารถทำให้เสียชีวิตแบบฉับพลันได้เหมือนกัน เรียกว่า “ไหลตาย” กลุ่มนี้จะเจอในคนที่มีกรรมพันธุ์ กลุ่มนี้คือ จะมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งถ้าไปเจอคุณหมอทัน คุณหมอต้องปั๊มหัวใจ ต้องใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้า หากคนไข้ที่เป็นโรคนี้ มีประวัติวูบหมดสติ หรือใจสั่นผิดปกติ เมื่อไปหาคุณหมอ คุณหมอจะแนะนำให้รักษาโดยการใส่เครื่องกระตุกไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดเสียชีวิตฉับพลัน เวลาหัวใจเต้นผิดจังหวะมาก ๆ ได้ครับ"
วิธีปฏิบัติตนง่าย ๆ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค คือ
1.หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันประเภทอิ่มตัว เช่น ไขมันจากเนื้อสัตว์อาหารฟาสต์ฟู้ด เนยและผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่พร่องไขมัน เพราะอาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้เกิดการสะสมไขมันในผนังหลอดเลือด โดยเพิ่มการรับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้นในแต่ละมื้อ
2.อย่าปล่อยให้อ้วนจนเกินไป เพราะหากมีนํ้าหนักตัวมากหัวใจจะทำงานหนักขึ้นเพื่อส่งโลหิต ออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย จึงควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
3.อย่าเครียด เพราะความเครียดจะมีผลต่อสุขภาพร่างกายในหลายๆ ด้านเช่นปวดศีรษะไปจนถึงขั้นหัวใจวาย จึงควรทำจิตใจให้แจ่มใส ควบคุมอารมณ์ หากิจกรรมนันทนาการที่ชอบ เพื่อหลีกเลี่ยงความเครียก เช่น ปลูกต้นไม้ ฟังเพลง เล่นกีฬา เพื่อให้ผ่อนคลาย
4.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นเวลานานจะทำให้ปริมาณไขมันในเลือดมีระดับสูง ลดสมรรถภาพของหัวใจในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายนอกจากนี้ หากพบว่าตนเองมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต้องควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับนํ้าตาล ในเลือดมากกว่าบุคคลทั่วไป
เป็นโรคหัวใจ ออกกำลังกายได้ไหม?
แสบตา เคืองตา น้ำตาไหล... รู้สึกไม่สบายตา โดยเฉพาะเมื่อเจอลมแรงๆ หรือแสงแดดจ้า ตาแดงก่ำ คันยุบยิบ น้ำตาไหลตลอดเวลา บางครั้งมีขี้ตาเยอะผิดปกต...
"ต้อหิน" ภัยเงียบที่ค่อยๆ ทำลายเส้นประสาทตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว ท...