CALL: 1792

บทความเพื่อสุขภาพ

ดูแลอย่างไร.. เมื่อข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง

19/09/2561

เป็นอุบัติเหตุที่ขึ้นโดยที่เราไม่ได้คาดคิด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ข้อเท้าพลิก หรือแพลงนั้นก็มีหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากอุบัติเหตุรอบตัว การเดินบนพื้นที่ไม่ราบเรียบ การสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะกับขนาดเท้า หรือการออกกำลังกาย-เล่นกีฬา เป็นต้น   

เมื่อเกิดขึ้นแล้วการดูแลเบื้องต้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ทำได้โดยใช้น้ำแข็งหรือผ้าเย็นประคบและงดการเคลื่อนไหวบริเวณนั้นชั่วคราว รอดูอาการถ้าไม่ดีขึ้นหรือยังมีอาการปวดอยู่  ควรปรึกษาแพทย์ทันทีค่ะ 

ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง (Ankle Sprain)
ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง เป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยที่สุดอย่างหนึ่งของเท้าและข้อเท้า ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในนักกีฬาและคนที่ใช้ข้อเท้ามากกว่าคนปกติ โดยการเดินบนพื้นที่ไม่เรียบ ตกลงมาจากที่สูง หรือแม้แต่การใส่ส้นสูง ก็ล้วนแล้วแต่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลงได้ทั้งสิ้น มีผู้ป่วยจำนวนมากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง แต่หลังจากได้รับการรักษาแล้วแต่ยังมีอาการเจ็บต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจเนื่องมาจากวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง การบริหารที่ไม่เหมาะสมหรืออาการฉีกขาดที่รุนแรงมาก
 
อาการ
1.มีอาการปวด บวม กดแล้วเจ็บ  ที่บริเวณเท้า
2.เอ็นและเนื้อเยื่อรอบข้อเท้ามีการฉีกขาดบางส่วน ปวด บวม ที่บริเวณเท้ามาก
3.ระดับนี้รุนแรงที่สุด เอ็นที่บริเวณเท้ามีการฉีกขาดทั้งหมด เดินลงน้ำหนักไม่ได้
 
3 ระดับความรุนแรง ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง
ระดับ 1 การบาดเจ็บภายในเส้นเอ็น แบบไม่มีการฉีดยาให้เห็น
ระดับ 2 มีการฉีกขาดบางส่วนของเส้นเอ็น
ระดับ 3 มีการฉีกขาดแบบสมบูรณ์
 
อาการบาดเจ็บที่มักเข้าใจผิดว่าข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง
1. ข้อเท้าแพลงแบบสูง
2. กระดูกแตกภายในเท้าหรือข้อเท้า
3. ผิวกระดูกอ่อนข้อเท้าบาดเจ็บ
 
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อข้อเท้าแพลง โดยหลักการ R.I.C.E
R-Rest นั่งพักเพื่อสังเกตอาการจากข้อเท้าแพลงว่ารุนแรงไหม
I-ICE ประคบเย็นเพื่อลดบวมและช่วยให้เลือกออกน้อยลง โดยประคบเย็นประมาณ 15 นาที ทุกๆ 2 ชม. ข้อห้ามไม่ควรประคบร้อน หรือนวดบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บในระยะแรกเพราะจะทำให้บวมมากยิ่งขึ้น
C-Compression ใช้ผ้าพันบริเวณที่บวม และพยายามไม่เคลื่อนไหว ถ้าไม่จำเป็นเพราะจะทำให้ ปวดในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
E-Evaluation ยกปลายเท้าให้สูงขึ้น เพื่อลดบวมและลดความเจ็บปวด
 
การวินิจฉัยข้อเท้าแพลง
ในเบื้องต้นแพทย์จะตรวจร่างกายด้วยการจับ ขยับ และกดบริเวณข้อเท้า เพื่อตรวจสอบการเคลื่อนไหวของข้อเท้า และบริเวณที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด
หากอาการบาดเจ็บมีความรุนแรงมาก แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยสแกนข้อเท้า เพื่อวินิจฉัยอาการจากภาพฉายภายใน ซึ่งจะตรวจสอบความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับกระดูก กล้ามเนื้อ และเอ็นข้อต่อในข้อเท้าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมต่อไป โดยแพทย์อาจให้ผู้ป่วยตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
- การฉายภาพเอกซเรย์ (X-Ray) เป็นการใช้เครื่องฉายรังสีเอกซเรย์ผ่านบริเวณข้อเท้าของผู้ป่วย แล้วฉายภาพโครงสร้างภายในกระดูกข้อเท้าออกมาเพื่อประกอบการวินิจฉัย
- การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography Scan: CT Scan) เป็นการใช้เครื่อง CT Scan ฉายรังสีเอกซเรย์บริเวณข้อเท้า แล้วให้เครื่องคอมพิวเตอร์ฉายภาพรายละเอียดภายในกระดูกข้อเท้า เนื้อเยื่อ และเอ็นข้อต่อออกมา
- การสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI Scan)  เป็นการใช้เครื่อง MRI Scan ฉายคลื่นวิทยุผ่านสนามแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พ่วงต่อจะฉายภาพโครงสร้างและรายละเอียดเนื้อเยื่อต่าง ๆ ภายในข้อเท้าที่เกิดความเสียหายออกมา
 
 
การรักษาข้อเท้าพลิก-แพลง
วิธีการรักษาข้อเท้าแพลงขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ แต่โดยทั่วไป หากอาการข้อเท้าแพลงที่เกิดขึ้นไม่รุนแรง ผู้ป่วยอาจรักษาดูแลบรรเทาอาการด้วยตนเองจนหายดีได้ภายในเวลาประมาณ 7-10 วัน ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น
 
1. รับประทานยา 
หากผู้ป่วยเจ็บปวดจากอาการข้อเท้าแพลง ให้รับประทานยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด เช่น พาราเซตามอล  ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน 
 
2. พันรัดบริเวณข้อเท้าแพลง 
ใช้ผ้ายืดพันรัดรอบบริเวณที่ข้อเท้าแพลง เพื่อลดอาการบวม ให้พันผ้าไว้จนกว่าอาการบวมจะหายไป โดยระมัดระวังไม่พันรัดรอบข้อเท้าจนแน่นเกินไป เพื่อป้องกันปัญหาการไหลเวียนของเลือด
 
3. ประคบเย็น 
ใช้ถุงน้ำแข็งหรือผ้าชุบน้ำเย็นประคบบริเวณที่ข้อเท้าแพลงเป็นเวลา 15-20 นาที และประคบซ้ำทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง ประมาณ 3-4 ครั้ง/วัน ในวันแรกที่ข้อเท้าแพลง หลังจากนั้นให้ประคบเย็นอีกทุก ๆ 3-4 ชั่วโมงใน 2 วันให้หลัง แต่หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวหรือกำลังป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด โรคเบาหวาน หรืออาการป่วยทางประสาทสัมผัสการรับรู้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรักษาด้วยวิธีนี้
 
4. ยกข้อเท้าขึ้น 
ควรยกข้อเท้าขึ้นหรือใช้หมอนช่วยรองให้ข้อเท้าอยู่ในระดับที่สูงกว่าหัวใจขณะนอนราบ เนื่องจากแรงโน้มถ่วงจะช่วยให้ของเหลวส่วนเกินที่คั่งอยู่ไหลออกจากบริเวณที่บาดเจ็บ ทำให้อาการบวมลดลงได้
 
5. พักผ่อน 
เพื่อให้ข้อเท้าที่บาดเจ็บได้พักฟื้น ควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจเพิ่มน้ำหนัก แรงกด หรือการกระทบกระเทือนที่อาจทำให้ข้อเท้าบาดเจ็บซ้ำอีก หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการรักษาและฟื้นตัว ซึ่งผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาอาการให้แน่ชัดว่ามีอาการรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับกระดูกหรือเนื้อเยื่อส่วนอื่นด้วยหรือไม่ มากน้อยเพียงใด แพทย์อาจมีวิธีการรักษาและแนะนำขั้นตอนปฏิบัติตนดังต่อไปนี้
 
6. การใช้อุปกรณ์ช่วย 
นอกจากการใช้ผ้ายืดพันยึดรอบข้อเท้า แพทย์อาจให้ผู้ป่วยใช้อุปกรณ์แบบสวมพยุงข้อเท้า (ฺBrace) หรือใช้ไม้เท้าช่วยพยุงร่างกายในขณะเคลื่อนไหว
 
7. การบำบัด 
หลังอาการบวมและบาดเจ็บหายไป ผู้ป่วยอาจต้องฝึกออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกายโดยเฉพาะบริหารบริเวณข้อเท้า เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ความยืดหยุ่นของเอ็นและกล้ามเนื้อ และฝึกการทรงตัวให้กลับมาเป็นปกติดังเดิมภายใต้คำแนะนำของแพทย์
 
8. การทำหัตถการ 
หากอาการปวดบวมจากข้อเท้าแพลงไม่คงที่หรือไม่บรรเทาลง แพทย์อาจส่งต่อไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องใส่เฝือกดามบริเวณข้อเท้า หรือใส่เฝือกรองเท้าช่วยเดิน (Walking Boot) จนกว่าอาการของผู้ป่วยจะดีขึ้นและกลับมาเดินได้ตามปกติ
 
9. การผ่าตัด 
แม้เป็นกรณีที่พบได้น้อยมาก แต่แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการข้อเท้าแพลงหากอาการข้อเท้าแพลงไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการอื่น ๆ หรืออาการข้อเท้าแพลงที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายให้เอ็นและกล้ามเนื้อในบริเวณนั้นอย่างรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดรักษาข้อเท้าแพลงตามความรุนแรงของอาการ 
 
สามารถแบ่งได้ 2 แบบ
1. การผ่าตัดส่องกล้อง (Arthroscopy) ศัลยแพทย์จะผ่าตัดโดยมองผ่านการส่องกล้องบริเวณกระดูกหรือกระดูกอ่อนที่อาจเกิดการแตกหักหรือเสียหาย
2. การผ่าตัดรักษาเส้นเอ็น (Reconstruction) ศัลยแพทย์จะผ่าตัดรักษาเอ็นส่วนที่ยึดตึงและเกิดความเสียหาย โดยแพทย์อาจนำเอ็นข้อต่อหรือเอ็นกล้ามเนื้อในบริเวณใกล้เคียงมาซ่อมแซมเอ็นเนื้อเยื่อส่วนที่เสียหายด้วย การพักฟื้นหลังการผ่าตัด หลังผ่าตัด ผู้ป่วยอาจต้องใช้เวลาพักฟื้นร่างกายหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน โดยผู้ป่วยควรดูแลตนเองและพักฟื้นร่างกายภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด มาพบแพทย์ตามนัดหมายเพื่อรับการตรวจและติดตามผล บริหารข้อเท้า ออกกำลังกาย หรือทำกายภาพบำบัดตามที่แพทย์แนะนำ
 
ภาวะแทรกซ้อนของข้อเท้าพลิก - แพลง
หากเกิดอาการข้อเท้าแพลงขึ้นแล้วปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาการเหล่านั้นอาจส่งผลกระทบให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายมากยิ่งขึ้นได้ เช่น เกิดอาการปวดอย่างเรื้อรัง เกิดภาวะเอ็นข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง เสี่ยงเกิดข้ออักเสบเร็วขึ้น เป็นต้น
 
การป้องกันข้อเท้าพลิก - แพลง
- อบอุ่นร่างกายให้พร้อมก่อนการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา
- ระมัดระวังในขณะเดิน วิ่ง ทำกิจกรรม หรือทำงานบนพื้นผิวที่ขรุขระ
- หยุดพักหรือชะลอการทำกิจกรรม หากเริ่มรู้สึกเหนื่อยล้า
- สวมใส่ถุงเท้าและรองเท้าที่พอดีกับเท้าและเหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำ
- หลีกเลี่ยงการสวมใส่รองเท้าส้นสูง เพราะเสี่ยงต่อการพลาดล้มจนเกิดการบาดเจ็บ
- ไม่เล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมที่ตนไม่ถนัด หรือไม่เหมาะสมกับตนเอง
- หมั่นออกกำลังกายเพื่อฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายและการทรงตัว
- บริหารกล้ามเนื้อและเอ็นส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เพื่อรักษาความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
- หากมีอาการข้อเท้าแพลง หรือสงสัยว่าอาจเกิดข้อเท้าแพลง ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้การรักษามีประสิทธิผลโดยเร็วที่สุด
 
นพ.สรวุฒิ รัตนคูณชัย
ศูนย์กระดูกและข้อ รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย
โทร 02-441-7899 ต่อ 3101, 3102, 3103
 

 

แพ็คเกจแนะนำ

แพ็คเกจผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

เปลี่ยน "ข้อเสีย" เป็น "ข้อดี"...

ราคา 185,000 บาท

บทความแนะนำ

16/10/2567

ลมและแดดจ้า ทำลายดวงตากว่าที่คิด ระวัง!! ต้อลม

แสบตา เคืองตา น้ำตาไหล... รู้สึกไม่สบายตา โดยเฉพาะเมื่อเจอลมแรงๆ หรือแสงแดดจ้า ตาแดงก่ำ คันยุบยิบ น้ำตาไหลตลอดเวลา บางครั้งมีขี้ตาเยอะผิดปกต...

16/10/2567

ต้อหิน ไม่เข้าใจ ไม่ระวัง อาจมองไม่เห็นตลอดชีวิต

         "ต้อหิน" ภัยเงียบที่ค่อยๆ ทำลายเส้นประสาทตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว ท...

รายชื่อแพทย์ในศูนย์บริการนี้