โรคไข้หวัดใหญ่ คืออะไร เกิดจากติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซ่า ซึ่งมีการระบาดเป็นช่วงๆในหน้าฝนและหน้าหนาว เป็นเชื้อที่มีโอกาสกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรงได้
การติดต่อ โรคไข้หวัดใหญ่ สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ทางการหายใจ ไอ จาม
อาการ โดยทั่วไปจะคล้ายไข้หวัดใหญ่จากเชื้ออื่นๆ ทั่วไปแต่มีอาการรุนแรง มีไข้ และเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากกว่า ผู้ป่วยจะมีน้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ มีไข้สูง ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัวโดยทั่วไปจะมีอาการ 2-3 วัน แต่บางรายอาจมีอาการรุนแรง เช่น ปอดบวม และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หลังจากหาย อาจมีอาการอ่อนเพลีบมึนงงไปอีกหลายสัปดาห์
วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ คืออะไร เป็นชนิดฉีด ผลิตจากเชื้อที่ตายแล้วโดยผ่านกระบวนการผลิตที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ แต่ผู้ฉีดวัคซีนแล้วยังอาจเป็นไข้หวัดใหญ่ได้แต่อาการน้อยลงวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไม่ป้องกันไข้หวัดทั่วไปที่เกิดจากเชื้ออื่นๆ
ใครที่ควรได้รับการฉีดวัคซีน ประกอบไปด้วยกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
- บุคลากรทางการเพทย์ และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง คือ ปอดอุดตันเรื้อรั้ง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง
- ไตวาย มะเร็งที่กำลังให้เคมีบำบัด เบาหวาน ธาลัสซีเมีย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ)
- บุคคลที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป
- หญิงมีครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
- ผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม ขั้นไป
- ผู้พิการทางสมองช่วยหลือตัวเองไม่ได้
- เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
ควรฉีดวัคซีนเมื่อไร
ฉีดได้ตลอดปี ช่วงที่เหมาะสม
- ก่อนฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม)
- ก่อนหน้าหนาว (เดือนตุุลาคม) เพราะเป็นช่วงระบาด
วัคซีนต้องฉีดซ้ำหรือไม่
ฉีดซ้ำทุก1ปี สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี ที่รับวัคซีนครั้งแรก
ควรได้รับ 2 เข็ม เข็มที่2 ห่างกับเข็มแรก 1 เดือน
สังเกตอาการข้างเคียง
ฉีดวัคซีนแล้วเกิดอาการข้างเคียงทำอย่างไร
หลังจากฉีด สังเกตอาการ อย่างน้อย 30 นาที
หลังจากกลับบ้าน ควรมีผู้ดูแลต่ออีก 2 วัน
เพื่อสังเกตอาการ หากมีผลข้างเคียง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้ง
ก่อนหรือหลังรับการฉีดวัคซีน
ใครไม่ควรฉีควัคซัน หรือควรเลื่อนการฉีดป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
- เด็กอายุ น้อยกว่า 6 เดือน
- คนที่มีประวัติการแพ้ ไก่ และไข่ไก่ เพราะวัคซีนมีส่วนผสมของไข่ไก่
- ผู้ที่เคยฉีดแล้วมีอาการแพ้
- มีไข้และเจ็บป่วยเฉียบพลัน หรือโรคประจำตัวกำเริบ ควรเลื่อนการฉีดไปก่อน
ป้องกันได้ด้วยตัวเอง
- รักษาร่างกายให้แข็งแรง และอบอุ่น
- ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ เป็นประจำ
- เครื่องใช้ส่วนตัวไม่ควรใช้ร่วมกับผู้อื่น
- หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด
- ไม่คลุกคลี หรือนอน รวมกับผู้ป่วยในระยะที่กำลังแพร่ระบาด
- หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ควรไดรับการฉีดวัคซีนตามกำหนดเวลาของแพทย์
ที่มา : thaigcd.ddc.moph.go.th