CALL: 1792

บทความเพื่อสุขภาพ

ถึงไส้จะเคลื่อน แต่นัดหมอ...ไม่เลื่อน (ไส้เลื่อน)

03/05/2561

 

 

ไส้เลื่อน   (Hernia) 
                โรคไส้เลื่อน  ส่วนใหญ่จะพบในผู้ชาย  จนหลายคนคิดว่าผู้หญิงไม่มีโอกาสเป็นโรคนี้  เพราะไม่มีถุงอัณฑะให้ไส้เลื่อนลงมา  แต่ความจริงแล้วผู้หญิงก็มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน   เพราะไส้เลื่อนเกิดจากการที่ความดันในช่องท้องมีมากกว่าความดันภายนอก  จนดันผนังช่องท้องให้โป่งออก  และลำไส้ก็จะค่อย ๆเคลื่อนออกมา  ทำให้เห็นเป็นก้อนบวมตรงบริเวณผนังหน้าท้องหรือขาหนีบ  
http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/GI/gi/hernia.gifไส้เลื่อนออกมาจากช่องท้อง  ได้อย่างไร… 
             ปกติในช่องท้องมีอวัยวะหลายอย่างอยู่รวมกัน  เช่น  ตับ ถุงน้ำดี   กระเพาะอาหาร  ลำไส้ใหญ่  ลำไส้เล็ก  ซึ่งอวัยวะเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มช่องท้อง (peritoneum ) และมีผังผืดหรือกล้ามเนื้อหุ้มอีกชั้นเพื่อป้องกันอวัยวะภายใน  แต่ผนังเยื่อหุ้มช่องท้องนี้ไม่ได้ปิดสนิททีเดียว  แต่จะมีรูให้ท่อรังไข่ในผู้หญิง  และท่อนำเชื้อในผู้ชายผ่านทางรู เมื่อเกิดความอ่อนแอของพังผืด ไส้ก็จะเลื่อนออกมาที่ผนังหน้าท้องหรือขาหนีบ 
ไส้เลื่อนประเภทที่พบได้บ่อย...

 

1.  ไส้เลื่อนที่สะดือ (umbilical hernia)  ที่เรียกกันว่าสะดือจุ่น มักจะมีอาการมาตั้งแต่แรกเกิด และหายได้เองก่อนอายุ 2 ขวบ
2.  ไส้เลื่อนที่ขาหนีบ (inguinal hernia)  ผู้ป่วยจะมีหน้าท้องที่บริเวณขาหนีบอ่อนแอผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด แต่จะปรากฏอาการไส้เลื่อนเมื่อย่างเข้าวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน หรือเมื่อเป็นโรคไอเรื้อรัง เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมปอดโป่งพอง ไส้เลื่อนชนิดนี้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมาได้
3. ไส้เลื่อนที่เกิดหลังผ่าตัด (incisional hernia) เป็นไส้เลื่อนที่เกิดหลังได้รับการผ่าตัดช่องท้อง เมื่อแผลหายแล้ว ผนังหน้าท้องในบริเวณผ่าตัด เกิดหย่อนกว่าปกติ ทำให้ลำไส้ไหลทะลักเป็นก้อนโป่งที่บริเวณนั้น

การรักษาอาการ 
                การรักษาไส้เลื่อน  ทำได้โดยการผ่าตัด  นำลำไส้กลับเข้าไปในช่องท้อง  และเย็บซ่อมรูหรือตำแหน่งที่ลำไส้เคลื่อนออกมา  ซึ่งปัจจุบันมีการรักษา  2 วิธี คือ

  • การผ่าตัดเปิด   โดยแพทย์จะรักษาวิธีนี้ในกรณีที่ไส้เลื่อนลงขาหนีบที่มีขนาดใหญ่มาก 
  • การผ่าตัดแบบส่องกล้อง   แพทย์จะทำการรักษาด้วยวิธีนี้ในกรณีที่ไส้เลื่อนลงขาหนีบมีขนาดไม่ใหญ่มาก   หรือกรณีไส้เลื่อนกลับมาเป็นซ้ำอีก  ซึงวิธีนี้จะมีข้อดีคือ แผลผ่าตัดเล็ก  เจ็บน้อย และฟื้นตัวเร็ว 

                ดังนั้น  หากพบก้อนตุงที่บริเวณผนังหน้าท้อง ขาหนีบและอัณฑะ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด   แต่ถ้าก้อนนั้นมีลักษณะแข็ง บวมมากขึ้น  มีอาการปวดท้อง หรืออาเจียนร่วมด้วย ก็ควรจะรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว  เพื่อแพทย์จะแนะนำการรักษาอาการอย่างถูกวิธี  ก่อนที่อาการจะรุนแรงขึ้น

 

บทความแนะนำ

16/10/2567

ลมและแดดจ้า ทำลายดวงตากว่าที่คิด ระวัง!! ต้อลม

แสบตา เคืองตา น้ำตาไหล... รู้สึกไม่สบายตา โดยเฉพาะเมื่อเจอลมแรงๆ หรือแสงแดดจ้า ตาแดงก่ำ คันยุบยิบ น้ำตาไหลตลอดเวลา บางครั้งมีขี้ตาเยอะผิดปกต...

16/10/2567

ต้อหิน ไม่เข้าใจ ไม่ระวัง อาจมองไม่เห็นตลอดชีวิต

         "ต้อหิน" ภัยเงียบที่ค่อยๆ ทำลายเส้นประสาทตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว ท...

รายชื่อแพทย์ในศูนย์บริการนี้