ภาวะกระดูกพรุน คือ ภาวะที่กระดูกมีความหนาแน่นลดลงโดยส่วนมากจะอยู่ในผู้สูงอายุเป็นหลัก ผู้ชายจะอายุ 50-60 ปีขึ้นไป ผู้หญิงก็คือหลังจากวัยหมดประจำเดือน กลุ่มเหล่านี้ก็จะมีภาวะโรคกระดูกพรุนได้ อาการคือมันจะแสดงอาการ บางครั้งเราถึงเรียกว่าภัยเงียบ
คนไข้ที่เริ่มกระดูกพรุนแล้วจะไม่มีอาการ นอกจากว่าไปเกิดอุบัติเหตุแล้วกระดูกมีการหักง่ายขึ้นมา
วิธีการดูแลป้องกันรักษาแบ่งเป็น 4 ข้อ
- พึงระวังเมื่อถึงวัยที่เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ อัตราการเสื่อมสลายของกระดูกจะประมาณ 10% ทุก ๆ 10 ปี ง่าย ๆก็คือปีละ 1%
- การรับประทานอาหาร ต้องเลือกทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงจะช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้
- นม เพราะมีทั้งแคลเซียมและวิตามิน D ผลิตภัณฑ์ที่มาจากนมก็จะมีพวก โยเกิร์ต ชีส เป็นต้น
- ถั่วหลือง ถั่วแดง เต้าหู้ เป็นต้น
- ผักจำพวกผักใบเขียว
- การรับประทานอาหารที่เป็นปลา เช่น ปลาทอด ปลากระป๋อง หรือกุ้งตัวเล็กๆที่กินได้ทั้งเปลือก เช่น กุ้งฝอย กุ้งแห้ง
- ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- ควรออกไปรับแสงแดดบ้างในยามเช้าเพื่อรับวิตามิน D
- การออกกำลังกายที่ไม่หักโหมจนเกินไป เช่น เดินจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ รำมวยไทยเก๊ก ลีลาศ ก็ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้ภาวกระดูกเสื่อม เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การดื่มชาหรืกาแฟ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้กระดูกพรุนเร็วขึ้น
- การพบแพทย์ เมื่อเราอายุมากขึ้นหรืออายุ 50-60 ปีขึ้นไป เพื่อตรวจมวลกระดูกหรือ BMD แพทย์จะตรวจมวลกระดูกให้เราว่าถึงภาวะเสี่ยงเป็นกระดูกพรุนหรือยัง และการตรวจกระดูกพรุนนั้นไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน ใช้เวลาไม่นาน ใช้รังสีเล็กน้อย เมื่อได้รับผลตาวจแล้วแพทย์จะดูว่าเราเป็นที่มีภาวะกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นภาวะกระดูกพรุนหรือไม่ ถ้ามีภาวะกระดูกพรุนแพทย์ก็จะเริ่มให้ทำการรักษาโดยการให้ยามาทานหรือฉีดยารักษาก็ได้
นพ.วีรชัย กิจสกุล
โรงพยาบาลวิชัยเวชฯ สมุทรสาคร
ช่องทางการติดต่อแพทย์พยาบาลในเวลาทำการ 08:00 – 17:00 น.
Hotline OPD Premium : 080-418-4632
โทร : 034-410-700 ต่อ 1129 /1514
ดูแลสุขภาพคุณวันนี้ เพื่อมีสุขภาพที่ดีในวันหน้า