CALL: 1792

บทความเพื่อสุขภาพ

ข้อแนะนำผู้ป่วย "โรคข้อ" เมื่อจะไปพบแพทย์

30/03/2561

ข้อแนะนำผู้ป่วยโรคข้อเมื่อจะไปพบแพทย์ โดยท่าน ศ.นพ. สารเนตร ไวคกุล
       ผู้ป่วยที่มีอาการข้อผิดปกติมักมีปัญหาในใจว่า ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ดีที่สุด บางท่านอาจเกิดความลังเลไม่แน่ใจว่าควรไปพบแพทย์หรือไม่ ไปพบแพทย์คนไหนดี ควรลองรับการรักษาด้วยยาสมุนไพร การนวดหรือซื้อยามารับรับประทานเองก่อนดี นากจากนี้การไปพบแพทย์จะพูดคุยกับแพทย์อย่างไรดีถึงจะทำให้แพทย์ผู้นั้นเข้าใจในความไม่สบายของตนเอง เพื่อผู้ป่วยเองจะได้รับการรักษาที่ดีและหายจากโรคข้อนั้นๆ นอกจากนี้ผู้ป่วยบางท่านอาจตั้งใจและมีแนวทางที่ต้องการให้แพทย์ตรวจและรักษาตามแผนที่ตนเองคิดว่าเหมาะสม โดยมักได้รับการแนะนำจากเพื่อน คนรู้จักหรือญาติว่า เมื่อมีอาการอย่างหนึ่งควรได้รับการตรวจรักษาอย่างหนึ่ง แต่เมื่อพบแพทย์แล้วไม่ได้รักษาตามที่ตั้งใจไว้อาจมีความรู้สึกไม่สบายใจ

       จึงเป็นที่มาของบทความนี้ที่เสนอแนวทางการเตรียมตัวของผู้ป่วยโรคข้อหรือผู้ที่มีความผิดปกติของข้อก่อนไปพบแพทย์เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยเป็นไปได้ถูกต้องแม่นยำ ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดี เข้าใจในแนวทางการรักษาและมีความสบายใจทั้งผู้ป่วยเองและแพทย์ผู้ให้การรักษา เพื่อความสะดวกในการเตรียมตัวจึงแบ่งผู้ป่วยดรคข้อออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

       1. กลุ่มที่มีอาการเจ็บปวดบริเวณข้อ การเคลื่อนไหวของข้อผิดปกติหรือมีอาการไม่สบายที่บริเวณข้อศอกชนิดเฉียบพลัน
           โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยมีอาการเช่นนี้มาก่อน  
       2. กลุ่มที่มีอาการเจ็บปวดบริเวณข้อ การเคลื่อนไหวของข้อผิดแกติหรือมีอาการไม่สบายที่บริเวณข้อเป็นๆหายๆมานาน 
           อาการอาจมีมากบ้างหรือน้อยบ้าง อาการทุเลาลงเมื่อได้รับการรักษา แต่ก็กลับมีอาการผิดปกติอีก
       3. กลุ่มที่มีอาการเจ็บปวดบริเวณข้อ การเคลื่อนไหวของข้อผิดปกติหรือมีอาการไม่สบายที่บริเวณข้อตลอดเวลา บางครั้งมี
           อาการมาก บางครั้งมีอาการน้อย แต่ส่วนใหญ่มีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ 

ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดบริเวณข้อ การเคลื่อนไหวของข้อผิดปกติหรือมีอาการไม่สบายที่บริเวณข้อชนิดเฉียบพลัน โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยมีอาการเช่นนี้มาก่อน 
         ผู้ป่วยควรลำดับเหตุการณ์ว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นสัมพันธ์กับกิจกรรมใดที่ผู้ป่วยไม่เคยทำหรือปฏิบัติมาก่อน เช่นทำงานที่ไม่เคยชิน ได้รับยาหรือสารใดบ้างหรือเกิดการบาดเจ็บที่อาจไม่รุนแรง การเปลี่ยนแปลงของระดับความเจ็บปวดในระยะก่อนที่จะพบแพทย์ อาการมากขึ้นเมื่อใดและลดลงเมื่อใด อาการปวดสัมพันธ์กับสิ่งใดบ้าง ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวหรือเคยแพ้อะไรมาก่อนหรือไม่
         หากผุ้ป่วยพักการใช้ข้อนั้นๆ และหรือรับประทานยาแก้ปวดสามัญเช่นยาพาราเซตามอลแล้วไม่ทุเลาควรรีบไปพบแพทย์ แล้วลำดับเหตุการณ์ให้แพทย์ทราบโดยลำดับ ผู้ป่วยควรเข้าใจว่าแพทย์ผู้นั้นเข้าใจและมีความรู้เรื่องโรคภัยดีและสามารถให้การรักษาได้ จึงควรมั่นใจในแนวทางการตรวจและรักษาของแพทย์ บ่อยครั้งที่พบว่าผู้ป่วยมีความวิตกกังลสมากเกินไป หรือได้รับคำแนะนำที่อาจไม่ถูกต้องครบถ้วนจากญาติสนิทหรือมิตรสหาย ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าป่วยเป็นโรคข้อชนิดรุนแรงที่อาจทำให้เกิดความพิการถาวรได้ และคิดว่าแพทย์ควรตรวจพิเศษต่างๆให้ครบ เช่นการส่งผู้ป่วยตรวจทางรังสีวิทยา การเจาะข้อเพื่อนำของเหลวในข้อออกมาตรวจและการตรวจเลือด จริงอยู่ที่การตรวจเหล่านั้นอาจมีความจำเป็นในผู้ป่วยบางราย แต่ไม่ใช่จำเป็นในผู้ป่วยทุกราย ข้อบ่งชี้ขึ้นกับประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยเองและการตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้ให้การรักษา หากผู้ป่วยตั้งใจไว้ล่วงหน้าว่าแพทย์น่าจะต้องตรวจพิเศษหรือให้การรักษาพิเศษใดควรปรึกษาและทำความเข้าใจกับแพทย์โดยอย่ายึดมั่นว่าตัวเราเข้าใจถูกต้อง เนื่องจากอาจทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันและเกิดความไม่สบายใจทั้งผู้ป่วยและแพทย์
        เมื่อแพทย์ให้การรักษาเบื้องต้นและนัดมารับการตรวจหรือรักษาในระยะต่อมา ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ตามนัด ระหว่างนั้นควรรับประทานยาหลีกเลี่ยงการใช้ยาข้อที่ผิดปกติตามคำแนะนำของแพทย์และบริหารร่างกายและข้อให้ถูกต้อง สังเกตุการณ์เปลี่ยนของอาการเจ็บป่วยว่าดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไร ผู่ป่วยมีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าอาจสัมพันธ์กับการใช้ยาที่แพทย์ให้มาหรือไม่ ควรจดบันทึกแล้วหยุดยาพร้อมกับไปพบแพทย์โดยเร็ว

ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดบริเวณข้อ การเคลื่อนไหวของข้อผิดปกติหรือมีอาการไม่สบายที่บริเวณข้อเป็นๆหายๆมานาน อาการอาจมีมากบ้างหรือน้อยบ้าง อาการทุเลาลงเมื่อได้รับการรักษา แต่ก็กลับมีอาการผิดปกติอีก
        ผู้ป่วยควรลำดับเหตุการณ์ใหม่ให้ชัดเจนว่า ผู้ป่วยรับประทานยา ลดการใช้ข้อที่มีปัญหาและบริหารร่างกายและข้อนั้นๆตามแพทย์แนะนำหรือไม่ อาการที่เกิดขึ้นนั้นสัมพันธ์กับกิจกรรมใหม่ใดๆที่ผู้ป่วยมีขึ้นหรือไม่ มีสิ่งใดที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการมากและมีสิ่งใดที่กลับทำให้ผู้ป่วยทุเลาลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยาและการใช้ข้อนั้นๆ ผู้ป่วยมีอาการอื่นๆที่ไม่เคยมีขึ้นมาแต่ก่อนหรือไม่ ทั้งอาการของข้อและอาการผอดปกติในอวัยวะและระบบอื่นๆ ผู้ป่วยควรกลับไปพบแพทย์คนเดิมและลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ให้แพทย์ทราบใหม่โดยละเอียด ควรซักถามปัญหาข้องใจทั้งหลายกับแพทย์ผุ้ให้การรักษา รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติตัว โรคข้อหลายชนิดแพทย์อาจไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ชัดเจนในการตรวจเพียงสองหรือสามครั้งแรก อาจต้องให้การรักษาและเฝ้าดูอาการของผู้ป่วยไประยะหนึ่ง ระหว่างนั้นควรรับประทานยาและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์

ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดบริเวณข้อ การเคลื่อนไหวของข้อผิดปกติหรือมีอาการไม่สบายที่บริเวณข้อตลอดเวลา บางครั้งมีอาการมาก บางครั้งมีอาการน้อย แต่ส่วนใหญ่มีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ
        มักพบในผู้ป่วยที่มีโรคข้อที่รุนแรง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหรือการรักษา ผู้ป่วยควรลำดับเหตุการณ์ใหม่ให้ชัดเจนว่า ผู้ป่วยรับประทานยา ลดการใช้ข้อที่มีปัญหาและบริหารร่างกายและข้อนั้นๆ ตามแพทย์แนะนำหรือไม่ อาการที่เกิดรุนแรงขึ้นนั้นสัมพันธ์กับกิจกรรมใหม่ใดๆที่มีผู้ป่วยมีขึ้นหรือไม่ มีสิ่งใดที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการมากและมีสิ่งใดที่กลับทำให้ผู้ป่วยทุเลาลง ผู้ป่วยควรจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงของอาการให้ชัดเจนและนำไปแจ้งแก่แพทย์ผู้ให้การรักษา แพทย์ผู้ให้การรักษาอาจปรับการรักษาใหม่ ตรวจร่างกายและตรวจพิเศษเพิ่มเติม ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจต้องรับตัวเข้าไว้ตรวจและรักษาในโรงพยาบาล
 

บทความแนะนำ

16/10/2567

ลมและแดดจ้า ทำลายดวงตากว่าที่คิด ระวัง!! ต้อลม

แสบตา เคืองตา น้ำตาไหล... รู้สึกไม่สบายตา โดยเฉพาะเมื่อเจอลมแรงๆ หรือแสงแดดจ้า ตาแดงก่ำ คันยุบยิบ น้ำตาไหลตลอดเวลา บางครั้งมีขี้ตาเยอะผิดปกต...

16/10/2567

ต้อหิน ไม่เข้าใจ ไม่ระวัง อาจมองไม่เห็นตลอดชีวิต

         "ต้อหิน" ภัยเงียบที่ค่อยๆ ทำลายเส้นประสาทตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว ท...

รายชื่อแพทย์ในศูนย์บริการนี้