CALL: 1792

บทความเพื่อสุขภาพ

'นม' เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแท้จริง

29/05/2560

 'นม' เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแท้จริง
 
มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (International Osteoporosis Foundation หรือ IOF) 
ระบุว่านมและผลิตภัณฑ์จากนมอื่นๆ เป็นอาหารพร้อมบริโภคที่หาได้ง่าย จัดอยู่ในกลุ่มอาหารที่มีแร่ธาตุแคลเซียมสูงที่สุด ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง โดยเป็นแคลเซียมที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ดีที่สุดและยังเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะให้ทั้งโปรตีนและเกลือแร่ที่สำคัญ เช่น ฟอสฟอรัส คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และวิตามิน นมช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง การสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกตั้งแต่อายุยังน้อยๆจะช่วยป้องกันไม่ให้กระดูกแตกหักได้ง่ายเมื่ออายุมากขึ้น
 
นอกจากนี้ นม หรือ น้ำนม (Milk) ยังเหมาะกับทุกเพศทุกวัย เพราะร่างกายจำเป็นต้องได้รับสารอาหารในนมมาสร้างเสริมร่างกายให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลา และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ควรดื่มนมที่มีแคลเซียมสูง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างกระดูกทั้งมารดาและทารกในครรภ์ และนมเปรี้ยวยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปกติ ขับถ่ายสะดวก ป้องกันอาการท้องผูก ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด เสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานนมพร่องมันเนยหรือนมขาดมันเนย และควรหลีกเลี่ยงนมที่มีรสหวาน
 
สำหรับวัยเด็ก (อายุ 1-12 ปี) ควรดื่มนม 3 แก้วต่อวัน 
วัยหนุ่มสาว (13-25 ปี) ควรดื่มนมวันละ 3-4 แก้ว 
สำหรับผู้ใหญ่ที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป ควรดื่มนมไม่น้อยกว่าวันละ 2 แก้ว ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วทุกคนควรดื่มนมไม่น้อยกว่าวันละ 2 แก้ว 
 
สำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรดื่มนมไม่น้อยกว่าวันละ 3 แก้ว (ป.ล. 1 แก้ว เท่ากับ 200 cc เท่านมขวดขนาดเล็ก) ถึงแม้ว่านมจะมีประโยชน์มากมาย แต่บางคนดื่มนมแล้วจะเกิดอาการท้องเสีย โดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากร่างกายของคนแถบเอเชียจะมีน้ำย่อยสำหรับน้ำตาลแล็กโทสเพียงช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 4-5 ปี หลังจากนั้นน้ำย่อยจะค่อย ๆ ลดลงจนหมดไป เมื่อดื่มนมเข้าไป น้ำตาลที่ไม่ถูกย่อยจะทำปฏิกิริยากับจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารจนเกิดกรดและแก๊ส ทำให้มีอาการแน่นท้อง ท้องอืด จุกเสียด และท้องเสีย
 
จากผลการสำรวจเมื่อปี 2556 พบว่า เด็กไทยดื่มนมน้อยมากเพียงคนละประมาณ 14 ลิตรต่อปี ต่ำกว่าเด็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทั่วโลก 4 - 7 เท่าตัว ส่งผลให้ส่วนสูงเด็กไทยเมื่อมีอายุครบ 18  ปีบริบูรณ์อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยค่อนข้างเตี้ย ผู้ชายสูงเฉลี่ย 167.1 เซนติเมตร (ซม.) ผู้หญิงสูงเฉลี่ย 157.4 ซม. ต่ำกว่ามาตรฐานสากลค่อนข้างเยอะ ถ้าอยากให้เด็กไทยเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ ผู้ปกครองจึงควรใส่ใจให้ลูกหลานของท่านดื่มนมอย่างเพียงพอ เพราะมันมีประโยชน์สำหรับเด็กอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนมจืด เพราะไม่ทำให้ฟันผุและอ้วน 
 
 
ด้วยความปรารถนาดีจาก   กลุ่ม รพ. วิชัยเวชฯ   "ดูแลชีวิต... ด้วยจิตใจ"    โทร. 1792

 

บทความแนะนำ

16/10/2567

ลมและแดดจ้า ทำลายดวงตากว่าที่คิด ระวัง!! ต้อลม

แสบตา เคืองตา น้ำตาไหล... รู้สึกไม่สบายตา โดยเฉพาะเมื่อเจอลมแรงๆ หรือแสงแดดจ้า ตาแดงก่ำ คันยุบยิบ น้ำตาไหลตลอดเวลา บางครั้งมีขี้ตาเยอะผิดปกต...

16/10/2567

ต้อหิน ไม่เข้าใจ ไม่ระวัง อาจมองไม่เห็นตลอดชีวิต

         "ต้อหิน" ภัยเงียบที่ค่อยๆ ทำลายเส้นประสาทตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว ท...

รายชื่อแพทย์ในศูนย์บริการนี้