การกำกับดูแลกิจการที่ดี
นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
บริษัทฯ ได้จัดทำนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน และมีการทบทวนเป็นระยะ โดยมีคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ ที่ช่วยกำกับดูแลและส่งเสริมให้บริษัทฯดำเนินกิจการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและพัฒนาระบบการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ให้มีธรรมาภิบาลและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงดูแลเรื่องนโยบายการต่อต้านการคอร์รัปชั่น จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ และนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัทฯและแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทฯ ได้มีการทบทวนปรับปรุงแก้ไขหลักการกำกับดูแลกิจการและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งหมวดหมู่เนื้อหาให้ชัดเจน ครอบคลุมหลักการกำกับดูแลกิจการที่สำคัญ และบริษัทฯ ได้ทำการเผยแพร่นโยบายการกำกับดูแลกิจการ และแนวปฏิบัติผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ ที่ www.vichaivej.com ในหัวข้อนักลงทุนสัมพันธ์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถศึกษาและดาวน์โหลดได้ โดยนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ ประกอบด้วย 5 หมวดหลัก ดังนี้
1. สิทธิของผู้ถือหุ้น
2. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
3. บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
4. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
5. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
บริษัทฯตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการ จึงได้มีการกำหนดนโยบาย และหลักการกำกับดูแลกิจการ ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ดำเนินการตามหลักการกำกับดูแลกิจการอย่างเคร่งครัดสรุปได้ 5 หมวด ดังนี้
หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น
การคุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้นและการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นในการใช้สิทธิในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.1 การคุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้น
คณะกรรมการให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้น และส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิของตน โดยครอบคลุมสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้นตามกฎหมาย อันได้แก่ สิทธิในการซื้อขายหรือโอนหลักทรัพย์ที่ตนถืออยู่ สิทธิในการรับส่วนแบ่งเงินปันผล สิทธิในการได้รับข่าวสารข้อมูลของกิจการอย่างเพียงพอ สิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น สิทธิในการเสนอวาระการประชุมผู้ถือหุ้นล่วงหน้า สิทธิในการออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อเลือกตั้งหรือถอดถอนกรรมการบริษัทฯ การกำหนดค่าตอบแทนกรรมการบริษัทฯ การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี กําหนดจำนวนเงินค่าสอบบัญชี และเรื่องที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยพื้นฐาน ของบริษัทฯ อันได้แก่ การแก้ไขข้อบังคับบริษัทฯ และหนังสือบริคณห์สนธิ การลดทุนหรือเพิ่มทุน และการอนุมัติรายการพิเศษ เป็นต้น
1.2 การประชุมผู้ถือหุ้น
บริษัทฯ ได้กำหนดให้มีการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปีละ 1 ครั้ง ภายในเวลาไม่เกิน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบปีบัญชีของบริษัทฯ และหากมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องเสนอวาระเป็นกรณีพิเศษซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไข กฎเกณฑ์ หรือกฎหมายที่ใช้บังคับจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น บริษัทฯ จะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเป็นกรณีไป
คณะกรรมการมีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นทุกกลุ่ม รวมถึงผู้ถือหุ้นประเภทสถาบัน เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น โดยกำหนดให้ภายในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นมีการชี้แจงรายละเอียดขั้นตอนการลงทะเบียนและเอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียนสำหรับผู้ถือหุ้นในแต่ละประเภท รวมถึงกำหนดให้ใช้หนังสือมอบฉันทะได้ ทั้ง 3 แบบ คือ แบบ ก, แบบ ข และแบบ ค พร้อมจัดให้มีช่องทางการดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุมฯ ภายในเว็บไซต์ของบริษัทฯ ได้ล่วงหน้า 30 วัน ก่อนวันประชุมฯ โดยในปี 2562 บริษัทฯ ได้จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 และได้เผยแพร่หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นฉบับสมบูรณ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษบนเว็บไซต์ของบริษัทฯ ในวันที่ 20 มีนาคม 2562
1.2.1 การดำเนินการก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น
1.2.2 การดำเนินการในวันประชุมผู้ถือหุ้น
1.2.3 การดำเนินการภายหลังวันประชุมผู้ถือหุ้น
ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2562 บริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอระเบียบวาระและชื่อบุคคลล่วงหน้า เพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการและเสนอคำถาม ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2561 และเมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าว พบว่า ไม่มี ผู้ถือหุ้นรายใดเสนอระเบียบวาระ หรือเสนอชื่อบุคคล หรือส่งคำถามล่วงหน้าก่อนการประชุม
ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 บริษัทฯ ได้เผยแพร่มติคณะกรรมการบริษัทฯ ผ่านระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเว็บไซต์ของบริษัทฯ พร้อมกำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2562 ในวันที่ 22 เมษายน 2562 เวลา 9.00 น. โดยกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิในการเข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2562 และสิทธิรับเงินปันผล ในวันที่ 15 มีนาคม 2562
บริษัทฯ ได้เผยแพร่หนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2562 และเอกสารประกอบการประชุมต่างๆ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ผ่านระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์ฯ และเว็บไซต์ของบริษัทฯ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2562 นับเป็น 32 วันก่อนวันประชุม และบริษัทฯ มอบหมายให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ เป็นผู้จัดส่งหนังสือเชิญประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2562 นับเป็น 23 วันก่อนวันประชุม
การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2562 จัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2562 เวลา 9.00 น. ณ ห้องประชุมขวัญเมือง (อาคาร1 ชั้น 7) โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล อ้อมน้อย เลขที่ 74/5 หมู่ 4 ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีผู้ถือหุ้นมาประชุมด้วยตนเอง และผู้รับมอบฉันทะ รวมจำนวน 50 ราย นับเป็นจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 422,969,085 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 74.12 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด โดยคณะกรรมการบริษัท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธานคณะอนุกรรมการต่างๆ ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน ผู้สอบบัญชี ที่ปรึกษาทางการเงิน และที่ปรึกษาทางกฎหมาย เข้าร่วมประชุมครบดังรายชื่อที่ปรากฏในรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2562 ซึ่งภายหลังการประชุมเสร็จสิ้น บริษัทฯ ได้มีการเผยแพร่มติที่ประชุมและผลการลงคะแนนของแต่ละวาระในวันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2562 อีกทั้ง บริษัทฯ มีการเผยแพร่รายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2562 ผ่านระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเว็บไซต์ของบริษัทฯ ในวันที่ 30 เมษายน 2562
หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันต่อผู้ถือหุ้นทุกราย ซึ่งรวมถึงผู้ถือหุ้นส่วนน้อยโดยผู้ถือหุ้นส่วนน้อยและผู้ถือหุ้นต่างชาติจะได้รับการคุ้มครอง บริษัทฯ จึงมุ่งเน้นแนวปฏิบัติในการคุ้มครองป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้ถือหุ้น ดังนี้
2.1 มาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน
เพื่อป้องกันการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน (Insider Trading) อันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ และเข้ามาทำการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยอาศัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ก่อนที่ข้อเท็จจริงดังกล่าวจะถูกเปิดเผยต่อประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน โดยบริษัทฯ มีการประกาศ เรื่อง นโยบายการป้องกันการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน เพื่อเพื่อป้องกันการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน
โดยกรรมการ ที่ปรึกษา พนักงาน บุคคลอื่นใดที่ปฏิบัติงานให้กับบริษัทฯ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง (คู่สมรส บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และบุคคลอื่นใดที่พนักงานมีอำนาจควบคุมหรืออิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุน) ประสงค์จะลงทุนในหุ้นของบริษัทฯ พนักงานต้องไม่ทำการซื้อหรือขายหุ้นของบริษัทฯ ในช่วงเวลาที่บริษัทฯ ประกาศกำหนดให้เป็น “Black Out Period” คือ ช่วงเวลา 3 วัน ก่อนมีการเปิดเผยงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจำปี และภายใน 24 ชั่วโมง หลังการเปิดเผยงบการเงินดังกล่าวต่อสาธารณะ และถึงแม้ว่าบริษัทฯ จะไม่ได้กำหนดว่าเป็น “Black Out Period” ก่อนการประกาศผลประกอบการประจำไตรมาสหรือประจำปี พนักงานที่ล่วงรู้ถึงผลการประกอบการของบริษัทฯ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ต้องตระหนักว่าตนได้ครอบครองข้อมูลภายในของบริษัทฯ อยู่ และห้ามซื้อหรือขายหุ้นของบริษัทฯ จนกว่าบริษัทฯ จะได้เปิดเผยผลประกอบการแก่สาธารณชนแล้ว
ทั้งนี้ในปี 2562 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ไม่มีเหตุการณ์ที่กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ประพฤติฝ่าฝืนมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน หรือมีการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายในแต่อย่างใด
2.2 การกำกับดูแลด้านความขัดแย้งทางผลประโยชน์
บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจซึ่งอาจเกิดสถานการณ์ที่มีผลประโยชน์ส่วนตนของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับขัดแย้งกับผลประโยชน์ของบริษัทฯ ความขัดแย้งทางผลประโยชน์นั้น อาจเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ดังนั้น เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ โดยปราศจากผลประโยชน์ส่วนตนเข้ามาเกี่ยวข้อง บริษัทฯ จึงได้กำหนดแนวทางที่ ทุกคนพึงถือปฏิบัติ ดังนี้
2.3 การทำธุรกิจใดๆ กับบริษัทฯ และบริษัทย่อย
การทำธุรกิจใดๆ กับบริษัทฯ และบริษัทย่อย ทั้งในนามส่วนตัว ครอบครัว หรือในนามนิติบุคคลใดๆ ที่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน นั้นมีส่วนได้ส่วนเสีย จะต้องเปิดเผยส่วนได้ส่วนเสียต่อบริษัทฯ ก่อนเข้าทำรายการ อีกทั้งห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ที่มีส่วนได้เสียเป็นผู้อนุมัติในการตกลงเข้าทำรายการหรือกระทำการใดๆ ในนามบริษัทฯ ผู้ทำรายการในนามบริษัทฯ มีหน้าที่ตรวจสอบความสัมพันธ์ของคู่ค้าว่าเกี่ยวข้องกับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานหรือไม่ ก่อนทำรายการ เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ใดๆ ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ นิยามของความสัมพันธ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เรื่อง “การเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติของบริษัทจดทะเบียนในรายการที่เกี่ยวโยงกัน” ภายใต้ประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2.4 การทำรายการระหว่างกัน
ในกรณีที่มีการทำรายการระหว่างกัน บริษัทฯ จะดูแลให้การเข้าทำรายการระหว่างกันทุกรายการจะต้องผ่านการพิจารณา และอนุมัติโดยคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงและคณะกรรมการบริษัท ตามลำดับ โดยการพิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการ ตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ โดยผู้ที่มีส่วนได้เสียจะต้องไม่มีส่วนในการพิจารณารายการที่ตนมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และให้มีการเปิดเผยข้อมูลรายการระหว่างกันไว้ในรายงานประจำปี และแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1)
2.5 การมีส่วนได้เสียของกรรมการ
บริษัทฯ กำหนดให้กรรมการและผู้บริหาร รวมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มีหน้าที่รายงานการมีส่วนได้เสียของตนเองและของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องที่เข้าข่ายการมีส่วนได้เสีย รายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่เกี่ยวกับการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของตนเองและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยให้ยึดแนวปฏิบัติตามกฎระเบียบของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก่อนนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯ หรือ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติทุกครั้งก่อนทำรายการ โดยกรรมการผู้มีส่วนได้เสียจะไม่เข้าร่วมพิจารณา หรือไม่มีสิทธิออกเสียงในการลงมติในวาระที่เกี่ยวกับการมีส่วนได้เสียของตน
หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิที่กำหนดโดยกฎหมาย หรือ โดยข้อตกลงที่ทำร่วมกัน โดยตระหนักว่าความสัมพันธ์ และความร่วมมือที่ดีระหว่างบริษัทฯ กับผู้มีส่วนได้เสียเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้บริษัทฯ สามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืน
3.1 การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย
บริษัทให้ความสำคัญกับสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นสิทธิที่กำหนดโดยกฎหมาย หรือ โดยข้อตกลงที่ทำร่วมกัน โดยตระหนักว่าความสัมพันธ์ และความร่วมมือที่ดีระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสียเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้บริษัทสามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืน
3.1.1. ผู้ถือหุ้น
สิทธิ์และการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันต่อผู้ถือหุ้น ปกป้องผลประโยชน์และสิทธิ์ของผู้ถือหุ้น ซึ่งรวมถึงสิทธิ์ในการได้รับเงินปันผลและรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเพียงพอจากบริษัทฯ ในเวลาอันสมควรอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลอย่างโปร่งใสและแสดงความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารผ่านการจัดประชุมของผู้ถือหุ้น รวมทั้ง รับผิดชอบในการให้ความสำคัญกับสิทธิ์ที่ปราศจากอคติและปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
3.1.2. พนักงาน
พนักงานถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนงานใด ฝ่ายใดก็ตาม บริษัทฯ ต้องมีส่วนในการส่งเสริมและสนับสนุน และจูงใจให้พนักงานดำเนินงานเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ โดยได้กำหนดเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดี และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงานทุกระดับชั้น
บริษัทฯ ดูแลสวัสดิภาพและความปลอดภัยของพนักงาน ให้ผลตอบแทนทีเป็นธรรม และเหมาะสมตามความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบและผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน ด้วยการนำระบบค่าตอบแทนทีสะท้อนผลการปฏิบัติงานมาเป็นเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน การปรับเงินเดือน และการจ่ายโบนัสประจำปี อาทิ ประเมินจากสถิติการปฏิบัติงานและการรักษาระเบียบวินัยของบริษัท ประเมินการปฏิบัติงานโดยหัวหน้าตามสายงาน การบรรลุเป้าหมายของแผนกโดยดูจากการบรรลุเป้าหมายตัวชีวัด (KPI) และการประเมิน Competency รวมถึงการให้สวัสดิการ เช่น สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลให้แก่พนักงานและครอบครัว จัดตั้งกองทุนสำรองเลียงชีพ
บริษัทฯ ใส่ใจและมุ่งมั่นที่จะให้พนักงาน มีความปลอดภัยในด้านต่าง ๆ ทั้งสุขอนามัย และมีสภาพแวดล้อมที่ดี จึงกำหนดแนวทางเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานตามที่กฎหมายกำหนด และได้กำหนดเป็นหลักการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย โดยมีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อดูแลความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ซึ่งในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้มีการจัดอบรม โดย บริษัท ปิ่นทองกรุ๊ป จำกัด เพื่ออบรมพนักงาน ด้านความปลอดภัยในการทำงาน และบริษัทฯ ได้มีการดูแลสุขภาพอนามัยของพนักงาน เช่น การจัดการดูแลตรวจสุขภาพประจำปี การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ การจัดสถานที่ออกกำลังกายในร่มเพื่อให้พนักงานได้ผ่อนคลายจากการทำงาน และกิจกรรมอื่นๆ
3.1.3. ลูกค้าและผู้บริโภค
ลูกค้าและผู้บริโภค ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ของธุรกิจ ทำให้ธุรกิจมีรายได้ ตลอดจนมีกำไร สามารถทำให้ธุรกิจดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนนั้น บริษัทฯ จึงต้องมีแนวทางและหลักปฏิบัติในการสร้างความพึงพอใจในทุกด้านให้แก่ลูกค้าและผู้บริโภค
3.1.4. คู่ค้าและเจ้าหนี้
บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการจัดซื้อ จัดหา ซึ่งเป็นกระบวนการในการกำหนดค่าใช้จ่ายและคุณภาพสินค้าและบริการที่จะนำมาใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความซื่อสัตย์ โปร่งใส และผลประโยชน์ร่วมกันกับคู่ค้า และ/หรือเจ้าหนี้ ตามกฎหมายหรือข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
3.1.5. คู่แข่ง
ในการดำเนินธุรกิจ คู่แข่งทางการค้าคือปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจเกิดการแข่งขันระหว่างกันตามภาวะการเติบโตของตลาด หรือบางกรณีอาจะต้องมีความร่วมมือระหว่างกันในการทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนั้น เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปด้วยดีในภาวะการแข่งขันนั้น จะต้องคำนึงถึงความชอบธรรมเป็นหลัก ไม่บิดเบือนข้อมูล ใส่ร้าย หรือใช้วิธีอื่นใดที่ไม่ถูกต้องตามกฎกติกา
3.1.6. ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ ตระหนักถึงความรับผิดชอบที่พึงมีต่อสังคมและชุมชน เสมือนเป็นภารกิจหลักที่จะสร้างสรรค์โครงการและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนับสนุนด้านการศึกษา สนับสนุนกิจกรรมที่เป็นสาธารณะ บริษัทฯ ใส่ใจและมุ่งมั่นที่จะให้พนักงานและชุมชนแวดล้อม มีความปลอดภัยในด้านต่าง ๆ ทั้งสุขอนามัย และมีสภาพแวดล้อมที่ดี จึงกำหนดแนวทางเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานตามที่กฎหมายกำหนด บริษัทฯ มุ่งมั่นในการเป็นองค์กรที่ให้ความใส่ใจและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยนโยบายในภาพรวมของบริษัทฯ คือ ลดการใช้พลังงาน การบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพมาตรฐานก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
3.2 การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น
บริษัท ศรีวิชัยเวชวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) “บริษัทฯ” มุ่งมั่นในการดําเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม และตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินกิจการอย่างโปร่งใส ยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้มีการดำเนินกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสีย และสามารถตรวจสอบได้ บริษัทฯ ได้เข้าร่วมเป็น “แนวร่วมปฏิบัติภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต” เพื่อ แสดงเจตนารมย์และความมุ่งมั่นในการต่อต้านคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ บริษัทฯ จึงได้กําหนดนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น และแนวทางสำหรับคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
บริษัท ศรีวิชัยเวชวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศต่อ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงานทุกคนของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ไม่ให้กระทำการอันใดที่เป็นการเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบทั้งทางตรง หรือทางอ้อม เพื่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กรและการดำเนินธุรกิจขององค์กร รวมถึงต่อตนเอง ครอบครัว เพื่อนและคนรู้จัก ไม่ว่าตนจะอยู่ในฐานะเป็นผู้รับ ผู้ให้ หรือผู้เสนอให้สินบน ทั้งที่เป็นตัวเงิน หรือไม่เป็นตัวเงิน แก่หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชน ที่บริษัทได้ดำเนินธุรกิจ หรือติดต่อด้วย โดยจะปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเคร่งครัด และกำหนดให้มีการสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการทบทวนแนงทางการปฏิบัติ ข้อกำหนดในการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมาย ทั้งนี้หากมีการฝ่าฝืนกระทำการใดๆ อันเป็นการสนับสนุนการทุจริตคอร์รัปชั่น จะได้รับการพิจารณาโทษตามระเบียบของบริษัทฯ
ในปี 2562 ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ ได้มีการประกาศแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับค่าของขวัญ โดยมีแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการเกี่ยวกับของขวัญที่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ในช่วงเทศกาลสำคัญ และแจ้งเตือนไปยังท่านคู่ค้า ลูกค้า และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ
3.3 ช่องทางการแจ้งเบาะแสการกระทำผิด หรือ ข้อร้องเรียน (Whistle-Blowing Service)
บริษัทฯ สนับสนุนให้พนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย ช่วยกันสอดส่องดูแล หากพบการกระทำใดๆ ที่ผิดหลักธรรมาภิบาล ผิดจรรยาบรรณ ผิดกฎระเบียบและข้อบังคับของบริษัทฯ ผิดกฎหมาย การกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทฯ ให้พนักงานหรือผู้มีส่วนได้เสียแจ้งเบาะแสการกระทำผิดโดยส่งเรื่องพร้อมเอกสารหรือหลักฐาน ระบุชื่อ-นามสกุลของผู้แจ้ง (หากมิได้ระบุชื่อนามสกุล เรื่องดังกล่าวอาจไม่ได้รับการพิจารณา) เพื่อความสะดวกในการติดต่อและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ให้กับประธานกรรมการตรวจสอบ โดยส่งด้วยตนเอง อี-เมล์ หรือส่งไปรษณีย์ มาที่กล่องรับแจ้งเรื่องร้องเรียน โดยให้ระบุ
เรียน ประธานกรรมการตรวจสอบ หรือ กรรมการอิสระ
ฝ่ายตรวจสอบภายใน
บริษัท ศรีวิชัยเวชวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 74/5 หมู่ที่ 4 ถนนเพชรเกษม ตำบลอ้อมน้อย
อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74130
โทรศัพท์ 02 441 7899 ต่อ 4526
E-mail : audit@vichaivej.com
หรือ สำนักงานเลขานุการบริษัท
บริษัท ศรีวิชัยเวชวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 74/5 หมู่ที่ 4 ตำบลอ้อมน้อย
อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74130
โทรศัพท์ 02 411 7899 ต่อ 1707
E-Mail: shares@vichaivej.com / bod@vichaivej.com
ขั้นตอนการพิจารณา เมื่อประธานกรรมการตรวจสอบ หรือ กรรมการอิสระได้รับข้อร้องเรียน ให้พิจารณาเบื้องต้นว่ามีมูลกระทำความผิดหรือไม่ หากพบว่ามีมูลให้เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาขั้นต้นให้ผู้แจ้งทราบภายใน 14 วันนับแต่วันรับเรื่อง และรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อทราบและพิจารณาดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ ให้คุ้มครองปกป้องพนักงานหรือผู้แจ้งเบาะแสในการกระทำความผิดโดยไม่มีการเปิดเผยชื่อผู้แจ้งแก่ผู้ใดทั้งสิ้น เว้นแต่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพิจารณารับเรื่องร้องเรียน และห้ามมิให้บริษัทพิจารณาลงโทษพนักงานผู้แจ้งเพราะเหตุเนื่องจากการแจ้งเบาะแสดังกล่าว
ในปี 2562 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนการกระทำผิดทุจริต (Fraud) หรือการกระทำผิดจริยธรรม หรือเกิดกรณีเกี่ยวกับชื่อเสียงในทางลบของบริษัทฯ อันเนื่องมาจากการบริหารงานของคณะกรรมการ รวมถึงไม่มีกรณีที่กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารลาออก อันเนื่องมาจากการกำกับดูแลกิจการที่ผิดพลาดของบริษัทฯ ตลอดจนไม่มีกรณีพิพาททางกฎหมายทั้งในเรื่องแรงงาน สิทธิของผู้บริโภค และการดำเนินธุรกิจแต่ประการใด
3.4 การไม่ล่วงละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์
คณะกรรมการบริษัท เคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น โดยไม่ละเมิดหรือไม่สนับสนุนการดำเนินการที่มีลักษณะเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ซึ่งแสดงถึงเจตนารมณ์ของบริษัทฯ ในการดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรม เคารพและปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
3.5 การไม่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน
คณะกรรมการบริษัทฯ ให้ความสำคัญในหลักสิทธิมนุษยชน โดยการยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันในแง่ของศักดิ์และสิทธิ์ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ สัญชาติ สีผิว เพศ ศาสนา อายุ ภาษา สถานภาพทางกายภาพและสุขภาพ และสถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม และความเชื่อทางสังคม การศึกษาอบรมหรือความคิดเห็น การเมืองโดยไม่กีดกัน ไม่เลือกปฏิบัติแก่ผู้หนึ่งผู้ใด รวมทั้งส่งเสริมให้มีการตระหนักและสำนึกในสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของตนที่มีต่อสังคมและบุคคลอื่น
หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
บริษัทให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับบริษัทฯ อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และทันเวลา ซึ่งรวมถึงข้อมูลที่สำคัญ เช่น ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน โครงสร้างการถือหุ้น และแนวทางการกำกับดูแลกิจการของบริษัท ดังนี้
4.1 นโยบายการเปิดเผยข้อมูล
คณะกรรมการดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลสําคัญของบริษัทฯ ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่ไม่ใช่ทางการเงิน อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และโปร่งใส ตามข้อกําหนดของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการเปิดเผยสารสนเทศ และการปฏิบัติการใดๆ ของบริษัทจดทะเบียน รวมถึงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเปิดเผยสารสนเทศของบริษัทจดทะเบียน ของประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานอื่นของรัฐ
โดยในปี 2562 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ไม่มีประวัติการส่งรายงานตามมาตรา 56 ทั้ง แบบ 56-1 และแบบ 56-2 และรายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาสและรายปีล่าช้า
4.2 ช่องทางการเปิดเผยข้อมูล
บริษัทฯ จัดให้มีช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลอย่างหลากหลาย เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยเผยแพร่ข้อมูลทั้งในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
4.3 นโยบายการให้ข้อมูลข่าวสาร หรือให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน หรือต่อสาธารณชน
บริษัทฯ มีนโยบายให้ข้อมูลข่าวสาร สื่อโฆษณา หรือสื่อประชาสัมพันธ์ อย่างถูกต้อง ชัดเจน เป็นธรรม ไม่บิดเบือนความจริง โดยมุ่งเน้นการสื่อสารและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับบริษัทฯ ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างครบถ้วน ทันเวลา และเท่าเทียมกัน
4.4 หน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทฯ มอบหมายให้เลขานุการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงินเป็นตัวแทนของบริษัทฯ ทำหน้าที่เป็นนักลงทุนสัมพันธ์ และให้สำนักงานเลขานุการบริษัทฯ รับผิดชอบในการเปิดเผยข้อมูลและข่าวสารกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทฯ กับ ผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์ และประชาชนทั่วไป ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ของบริษัทฯ อีกทั้ง บริษัทฯ ได้จัดทำคำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (Management Discussion and Analysis: MD&A) เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้รับทราบข้อมูลและเข้าใจผลประกอบการได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการให้ข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับบริษัทฯ ต้องอยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่เป็นจริง ถูกต้อง และปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย ไม่สามารถให้ข้อมูลข่าวสารหรือให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนหรือต่อสาธารณชนใดๆ เกี่ยวกับหรือพาดพิงบริษัทฯ ไม่ว่าในด้านใด อันอาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียง และการดำเนินธุรกิจของบริษัท
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถติดต่อสำนักงานเลขานุการบริษัทเพื่อติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์ได้ที่ โทรศัพท์ 0 2441 7899 ต่อ 1707,1708 หรือที่อีเมล์ shares@vichaivej.com / bod@vichaivej.com
หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
บริษัทให้ความสำคัญกับบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการในการชี้แนะทิศทางการดำเนินงานของบริษัท การติดตามดูแลการทำงานของฝ่ายจัดการ และการแสดงความรับผิดชอบตามหน้าที่ของคณะกรรมการที่มีต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น ดังนี้
5.1 การจัดประชุมคณะกรรมการ
5.1.1 การเข้าร่วมประชุม
คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดให้มีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน โดยมีการกำหนดตารางการประชุมไว้ล่วงหน้าทุกปี และกำหนดให้เป็นวันเสาร์ที่ 3 ของทุกเดือน (แต่ต้องไม่น้อยกว่า 6 ครั้งต่อปี) โดยหน่วยงานเลขานุการบริษัทฯ ได้จัดส่งกำหนดการและวาระการประชุมคณะกรรมการเป็นการล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม การกำหนดวัน เวลาประชุมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับความสำคัญของวาระการประชุมที่จะต้องนำเข้าพิจารณา
5.1.2 การพิจารณากำหนดวาระการประชุม
ประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการ ร่วมกันพิจารณาเลือกเรื่องเข้าวาระการประชุมคณะกรรมการ โดยดูให้แน่ใจว่าเรื่องที่สำคัญได้นำเข้ารวมไว้แล้ว โดยเปิดโอกาสให้กรรมการแต่ละคนมีอิสระที่จะเสนอเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ เข้าสู่วาระการประชุม
5.1.3 เอกสารการประชุม
คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มอบหมายให้สำนักงานเลขานุการบริษัทฯ เป็นผู้จัดเตรียมเอกสารประกอบการประชุม และข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจในแต่ละวาระ และจัดส่งให้กรรมการเป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนการประชุม เพื่อให้กรรมการพิจารณาเป็นการล่วงหน้าและมีเวลาเพียงพอในการศึกษาข้อมูล
5.1.4 การดำเนินการประชุม
ประธานกรรมการเป็นผู้จัดสรรเวลาอย่างเพียงพอในการพิจารณาในแต่ละวาระของการดำเนินการประชุม
5.1.5 การเชิญฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุม
คณะกรรมการบริษัทฯ ส่งเสริมให้มีการเชิญฝ่ายจัดการระดับสูงเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ เพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติมในฐานะที่เกี่ยวข้องกับปัญหาโดยตรง
5.1.6 การประชุมของกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร
คณะกรรมการบริษัทฯ สนับสนุนให้กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารได้มีโอกาสประชุมระหว่างกันเองตามความจำเป็น เพื่ออภิปรายปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการที่อยู่ในความสนใจ โดยไม่มีฝ่ายจัดการร่วมด้วย และควรแจ้งให้กรรมการผู้จัดการทราบถึงผลการประชุมด้วย
5.2 การประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อย และประธานกรรมการบริหาร
บริษัทฯ ได้จัดให้มีการประเมินคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และให้เปิดเผยหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และผลการประเมินในภาพรวมไว้ในรายงานประจำปี
5.2.1 การประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการ
หลักเกณฑ์
บริษัทฯ จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการบริษัท เป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยใช้แนวทางการประเมินตนเองของคณะกรรมการ จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะและโครงสร้างของคณะกรรมการ เพื่อใช้เป็นกรอบในการตรวจสอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท และส่งเสริมให้มีการร่วมกันพิจารณาผลงานและปัญหา ในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัทฯ และการกำกับดูแลกิจการที่ดี และให้เปิดเผยหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และผลการประเมินในภาพรวมไว้ในรายงานประจำปี
หัวข้อในการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ รายคณะ มีดังนี้
1. โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ
2. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
3. การประชุมคณะกรรมการ
4. การทำหน้าที่ของกรรมการ
5. ความสัมพันธ์กับฝ่ายจัดการ
6. การพัฒนาตนเองของกรรมการและการพัฒนาผู้บริหาร
หัวข้อในการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ รายบุคคล มีดังนี้
1. โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ
2. การประชุมของคณะกรรมการ
3. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
ขั้นตอน
บริษัทฯ จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการเป็นประจำทุกปี เพื่อประเมินถึงการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา โดยเลขานุการบริษัทจะจัดส่งแบบการประเมินดังกล่าวให้กรรมการแต่ละท่าน เพื่อทำการประเมินผลการปฏิบัติงาน และนำผลการประเมินไปหารือในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งนี้สำหรับข้อเสนอแนะต่างๆ ที่ได้รับจากการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ บริษัทฯ จะนำมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิผลของการทำงานของคณะกรรมการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการกำกับดูแลกิจการ
ผลการประเมิน ประจำปี 2562
ผลการประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการ รายคณะ ประจำปี 2562 แบ่งออกเป็น 6 หัวข้อหลัก จำนวน 60 เรื่อง โดยผลประเมินอยู่ในระดับ 4 คือ เห็นด้วยอย่างมาก หรือมีการดำเนินการในเรื่องนั้นอย่างดีเยี่ยม 60 เรื่อง รวมถึงผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการ รายบุคคล ประจำปี 2562 แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลัก 11 เรื่อง ซึ่งอยู่ในระดับ 4 คือ เห็นด้วยอย่างมาก หรือมีการดำเนินการในเรื่องนั้นอย่างดีเยี่ยม ทั้ง 11 เรื่อง
5.2.2 การประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการชุดย่อย
หลักเกณฑ์
คณะกรรมการบริษัท จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการชุดย่อยแต่ละคณะ เป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในหัวข้อเกี่ยวกับ ความเป็นผู้นำ บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบ การกำหนดนโยบายและการปฏิบัติ การประชุมคณะกรรมการ การบริหารงาน และความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอน
บริษัทฯ จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการชุดย่อยแต่ละคณะ เพื่อประเมินถึงการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา โดยเลขานุการบริษัทจะจัดส่งแบบการประเมินดังกล่าวให้กรรมการแต่ละท่านเพื่อทำการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการชุดย่อยแต่ละคณะ และนำผลการประเมินไปหารือในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ
ผลการประเมิน ประจำปี 2562
ผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการชุดย่อยแบบรายคณะ ประจำปี 2562 แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลัก 36 เรื่อง ซึ่งผลที่ได้คือ
ข้อ 3.2.3 จัดให้มีโครงการสำหรับพัฒนาและสืบทอดงานของกรรมการและผู้บริหาร (Succession plan)
5.2.3 การประเมินผลการปฏิบัติงานประธานกรรมการบริหาร
หลักเกณฑ์
คณะกรรมการบริษัท จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในหัวข้อเกี่ยวกับ ความเป็นผู้นำ การกำหนดและปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ การวางแผนและผลปฏิบัติทางการเงิน ความสัมพันธ์กับคณะกรรมการ ความสัมพันธ์กับภายนอก การบริหารงานและความสัมพันธ์กับบุคลากร การสืบทอดตำแหน่ง ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน การกำกับดูแลกิจการ และคุณลักษณะส่วนตัว โดยใช้แนวทางการประเมินจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ขั้นตอน
บริษัทฯ ได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการประเมินผลงานประธานเจ้าหน้าที่บริหารขึ้น เพื่อประเมินการดำเนินงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารในปีที่ผ่านมา และนำผลการประเมินไปหารือในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และกำหนดความเหมาะสมของค่าตอบแทนต่อไป
ผลการประเมิน ประจำปี 2562
ส่วนที่ 1 ประเมินผลงานด้านการเงิน (คะแนนประเมิน คิดเป็นร้อยละ 50) แบ่งเป็น 2 ข้อ ย่อย
- การบริหารรายได้ ปี 2562 ได้คะแนนประเมินคิดเป็นร้อยละ 25
- ความสามารถในการทำกำไรสุทธิ ได้คะแนนประเมินคิดเป็นร้อยละ 25
ส่วนที่ 2 ประเมินผลงานด้านการขยายกิจการและการลงทุน (คะแนนประเมิน คิดเป็นร้อยละ 30)
- การขยายกิจการ และการลงทุน ได้คะแนนประเมินคิดเป็นร้อยละ 27.50
ส่วนที่ 3 ประเมินผลงานด้านการพัฒนาอื่นๆ (คะแนนประเมิน คิดเป็นร้อยละ 20)
- การพัฒนาบุคลากร ได้คะแนนประเมินคิดเป็นร้อยละ 5
- ภาวะผู้นำ ได้คะแนนประเมินคิดเป็นร้อยละ 5
- การกำหนดกลยุทธ์ และ แผนนโยบาย ได้คะแนนประเมินคิดเป็นร้อยละ 5
- การสืบทอดตำแหน่ง ได้คะแนนประเมินคิดเป็นร้อยละ 3.75
ซึ่งผลการประเมินผลงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ประจำปี 2562 ได้คะแนนเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 96.25 เป็นผลการประเมินในระดับ “ดีเยี่ยม”
5.3 การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร
5.3.1 การอบรมสำหรับกรรมการและผู้บริหาร
บริษัทส่งเสริมให้กรรมการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนให้กรรมการเข้าร่วมอบรมหลักสูตรหรือเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ในการปฏิบัติงาน
คณะกรรมการบริษัทมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอโดยได้เข้าร่วมการสัมมนา/อบรม/ประชุมกับสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย และสถาบันอื่นๆ เพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและนำความรู้ที่ได้มาใช้ประโยชน์กับกิจการต่อไป และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการใหม่ บริษัทมีการจัดปฐมนิเทศและจัดทำคู่มือกรรมการมอบให้แก่กรรมการใหม่ ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลเอกสารที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ และการบรรยายเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท
การอบรม สัมมนา สำหรับกรรมการและผู้บริหารประจำปี 2562
ชื่อกรรมการ |
หลักสูตร |
สถาบันที่จัดอบรม |
คุณนพพร ติรวัฒนกุล |
|
ธ.แห่งประเทศไท ธ.กรุงศรีอยุธยา |
คุณพฤทธิ์ โรจน์มหามงคล |
· หลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 8 “ปธพ.8” |
สถาบันพระปกเกล้า |
5.3.2 แผนการสืบทอดตำแหน่ง
คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดให้คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน เป็นผู้รับผิดชอบในการวางแผนการพัฒนาและสืบทอดตำแหน่งเพื่อเตรียมความพร้อม เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่ผู้บริหารระดับสูงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่งคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ได้จัดให้มีแผนสืบทอดตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และให้มีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอโดยประเมินความสำคัญของตำแหน่ง การสรรหาและพัฒนา เพื่อให้มีผู้สืบทอดตำแหน่งที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และคุณสมบัติอื่นที่ตรงตามความต้องการและเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ และบริษัทย่อย
5.3.3 การปฐมนิเทศกรรมการใหม่และการเสริมความรู้ให้กับกรรมการ
บริษัทฯ กำหนดให้มีการปฐมนิเทศกรรมการใหม่ทุกครั้งที่มีการแต่งตั้งกรรมการใหม่ โดยจัดให้มีคู่มือกรรมการ เอกสารและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการใหม่ อาทิเช่น โครงสร้างองค์กร กฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการแนะนำลักษณะธุรกิจ และแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และได้มอบหมายให้เลขานุการบริษัทเป็นผู้แนะนำกรรมการใหม่ให้ทราบถึงภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ
การนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 ไปปรับใช้
สำหรับปี 2562 นี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีการทบทวนหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 (Corporate Governance Code : “CG Code ปี 2560”) ซึ่งได้วางหลักปฏิบัติสำหรับคณะกรรมการ 8 ข้อหลัก คือ
1. ตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการในฐานะผู้นำองค์กรที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน
2. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของกิจการที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน
3. เสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผล
4. สรรหาและพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและการบริหารบุคลากร
5. ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ
6. ดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม
7. รักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล
8. สนับสนุนการมีส่วนร่วมและการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น
โดยนำหลักปฏิบัติของหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน (Corporate Governance Code:CG Code) ซึ่งกำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงแนวปฏิบัติจากนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ มาปรับใช้เพิ่มเติม โดยให้นำหลักปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 ไปปรับใช้ตามที่เหมาะสมกับบริบทธุรกิจของบริษัทให้ได้มากที่สุด และกำหนดแนวปฏิบัติเพิ่มเติมที่บริษัทควรจะดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของบริษัท และกำหนดแนวปฏิบัติเพิ่มเติมที่บริษัทควรจะดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของบริษัท
โดยสาระสำคัญที่ปรับปรุง ได้แก่ การเพิ่มเติมบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการความเสี่ยงเรื่องคอร์รัปชั่น การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส รวมถึงการคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ในการทบทวนหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนนั้น บริษัทฯ พบว่ายังมีแนวปฏิบัติบางข้อที่คณะกรรมการบริษัทพิจารณาแล้วเห็นควรยังไม่ให้นำมาปรับใช้เนื่องจากยังเห็นว่าไม่เหมาะสมกับบริบทของบริษัท และเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความละเอียดซับซ้อน เห็นควรชะลอการปฏิบัติไว้ก่อน โดยได้บันทึกเหตุผลไว้เป็นส่วนหนึ่งของมติคณะกรรมการ ประกอบกับบริษัทได้มีกำหนดมาตรการและแนวทางในการกากับดูแลด้วยวิธีการอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดีในเรื่องนั้น ๆ ไว้แล้ว
การปฎิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในเรื่องอื่นๆ
ในปี 2562 บริษัทฯ ได้รับผลการประเมินในโครงการที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี ดังนี้