CALL: 1792

บริการทางการแพทย์

ศูนย์ระบบประสาทและสมอง

พบแพทย์ได้ที่: รพ. วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย
Stroke โรคหลอดเลือดสมอง

เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง ที่มีการตีบ อุด ตัน และแตก ทำให้สมองได้รับความเสียหาย ขาดเลือดไปเลี้ยง
ทำให้เกิดอาการของอัมพาต อัมพฤกษ์ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. โรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน พบได้ประมาณ 80% ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากความเสี่อมสภาพของหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง
ทำให้มีการหนาตัวของผนังหลอดเลือดและมีคราบไขมัน หรือหินปูนไปสะสม นอกจากนี้ยังพบสาเหตุมากจากลิ่มเลือดหัวใจ หรือจากผนังหลอดเลือดหลุดออกไปอุดตันได้

2.โรคหลอดเลือดในสมองแตก พบมากในคนไข่้ที่มีความดันสูง ทำให้หลอดเลือดเปราะบางและโปร่งพอง แตก ทำให้เกิดเลือดคลั่งในสมอง และเนื้อสมองตาย เช่น
โรคเลือด การรับประทานยาละลายลิ่มเลือด 

ปัจจัยความเสี่ยง
1. ความดันโลหิตสูง
2. โรคเบาหวาน
3. โรคไขมันในเลือดสูง
4. การสูบบุหรี่ และการดื่มสุราเป็นประจำ
5. การขาดการออกกำลังกาย
6. โรคอ้วน
7. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือมีลิ้นหัวใจผิดปกติ
8. สาเหตุอื่นๆ เช่น การใช้ยาเสพติด ภาวะเส้นเลือดอักเสบ

อาการ
1. ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดไม่ออก พูดแล้วฟังไม่รู้เรื่อง
2. อาการชา หรืออ่อนแรงของแขนขาข้างใดข้างนหนึ่ง
3. มองเห็นผิดปกติ เห้นภาพซ้อน มองเห็นแค่ครึ่งเดียว ตาบอดข้างเดียว
4. เวียดศรีษะ เดินเซ ทรงตัวไม่อยู่
5. ปวดศรีษะ ซึมหมดสติ


การตรวจวินิจฉัย
ปัจจุบันมีวิธีการตรวจวินิจฉัยที่สามารถรู้ถึงความผิดปกติของสมองและหลอดเลือดสมองได้ว่ามีความผิดปกติอย่างไร รวมถึงการตรวจหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคด้วย

- การตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- การตรวจหัวใจด้วยเครื่องตรวจอัลตร้าซาวด์ เพื่อดูความผิดปกติของหัวใจ
- การตรวจเลือดดูภาวะของเบาหวาน ไขมันในเลือด ความเข้มข้นและความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
- การตรวจความดันโลหิต
- การตรวจอัลตร้าซาวด์หลอดเลือดบริเวณคอ

การรักษา
- การให้ยาสลายลิ่มเลือดในกรณ๊ทีมีการตีบ อุดตันของหลอดเลือดสมองภายใน 4.5 ชั่วโใง จะช่วยให้ผู้ป่วยที่มีโอกาสที่จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดทุพพลภาพ หรือมีโอกาสหายได้เป็นปกติ
- ให้ยาต้านเกร็ดเลือด หรือยาละลายลลิ่มเลือด เพื่อป้องกันการเป็นซ้ำของโรค
- การควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 

ข้อแนะนำ
1. ควรตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจหาปัจจัยเสี่ยง
2. ควรปรับเปลี่ยนการใช้ชีวืตประจำวัน หลีกเลี่ยงอาหารที่เค็มจัด หวาดจัด หรืออาหารไขมันสูง
3. ออกกำลังหายสม่ำเสมิอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
4. งดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงเครื่องดิมแอลกอฮอล์
5. ควบคุมปัจจัยเสี่ยงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือเหมาะสม
6. ถ้ามีอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง ให้มาโรงพยาบาลทันที อย่ารอดูอาหารซึ่งอาจจะทำให้โอกาสการรักษา ซึ่งทำให้มีโอกสเสี่ยงเป็นอัมพาตอัมพฤกษ์ได้
7. ผู้ป่วยที่เคยมีอาการของโรคเลอดเลือดสมองมาก่อน ต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงอละต้องรับประทานยาสม่ำเสมอ และพบปรึกษาแพทย์สม่ำเสมอ


 
การนัดพบแพทย์และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
โรงพยาบาลวิชัยเวชฯ อ้อมน้อย

โทร. 1792, (02) 441 7899 

โทรสาร. (02) 431 0940, (02) 431 0943

E-mail: omnoi@vichaivej.com

รายชื่อแพทย์ในศูนย์บริการนี้