ศาสตร์การแพทย์แผนจีนและการฝังเข็ม
ได้รับการยอมรับให้เป็นบริการรักษาพยาบาลอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพ ลดการรับประทานยาที่เกินความจำเป็นปัจจุบันโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนหลายแห่งในประเทศไทย ได้จัดให้มีบริการรักษาผู้ป่วยนอกด้วยการฝังเข็มควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบันด้วย
"ชนิดการรักษาในศาสตร์แพทย์จีน"
-- การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า --
เมื่อฝังเข็มแล้ว ใช้สายไฟเชื่อมต่อเข็มกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดพิเศษเป็นกระแสไฟตรง เพียง 9 โวลท์ จึงไม่ทำให้เกิดไฟดูดได้ แต่จะกระตุ้นกล้ามเนื้อเป็นจังหวะตามกระแสไฟฟ้า ทำให้เข็มกระดิกตามและไม่ทำให้เจ็บปวดจนทนไม่ได้
-- การคลอบแก้ว --
เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่มีการติดขัดทำให้รักษาอาการปวดได้ หลังจากการทำแล้ว บริเวณผิวหนังอาจมีสีม่วงคล้ำเป็นจ้ำ แต่ไม่มีอันตรายและจะหายได้เองในเวลา 1-2 สัปดาห์
"การฝังเข็มรักษาโรคได้อย่างไร"
การฝังเข็มทำให้เลือดและระบบลมปราณที่ติดขัดไหลเวียนดีขึ้น ช่วยให้อวัยวะในร่างกายทำงานได้สมดุล เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยที่ก่อโรคและช่วยให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง คลายตัว ยับยั้งความเจ็บปวดได้
"การฝังเข็มทำอย่างไร เจ็บหรือไม่ ?"
วิธีการฝังเข็มแพทย์จะใช้เข็มปราศจากเชื้อ มีขนาดเล็กและบางมาก เป็นเข็มตันปลายตัด ไม่มีสารเคมีหรือยาชนิดใดเคลือบอยู่ซึ่งจะแทรก ระหว่างเนื้อเยื่อผ่านลงไปในผิวและปักลงใน
จุดลมปราณต่างๆของร่างกาย แล้วกระตุ้นโดยใช้มือ หรือใช้เครื่องไฟฟ้ากระตุ้นโวลต์ต่ำใช้เวลาประมาณ 30 นาทีแล้วจึงถอนออก ขณะที่เข็มผ่านผิวหนังจะมีอาการเจ็บอยู่บ้างแต่ไม่มาก และ
เมื่อเข็มแทงเข้าไปลึกถึงตำแหน่งของจุดฝังเข็ม จะมีอาการปวดตื้อๆหรือปวดหน่วงๆ และปวดร้าวไปตามทางเดินของเส้นลมปราณ “เข็มที่ใช้....จะใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งไม่นำกลับมาใช้อีก”
"ต้องมารับการฝังเข็มรักษานานเท่าไหร่ ?"
ควรมาฝังเข็มสัปดาห์ละ 2 ครั้งและจะต้องมาอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 10 ครั้ง หรือแล้วแต่การพิจารณาของแพทย์
"โรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม"
-- กลุ่มอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดหลัง ปวดต้นคอ ปวดไหล่ ปวดข้อเข่า ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน ปวดประจำเดือน ปวดข้อรูมาตอยด์
-- กลุ่มความงามและผิวหนัง เช่น สิว ฝ้า กระ หน้าใส ผมร่วง ผมบาง ลดความอ้วน กระชับสัดส่วน เพิ่มน้ำหนักในคนผอม
-- กลุ่มโรคอื่นๆ เช่น
- อัมพฤกษ์ อัมพาต แขนขาอ่อนแรงและผลข้างเคียง
- หลังจากป่วยด้วยโรคทางสมอง
- โรคเครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า วัยทอง
- โรคเบาหวาน ที่มีกลุ่มอาการชาปลายมือ ปลายเท้า
- ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
- โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน
- โรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น กรดไหลย้อน
- สะอึก กรดในกระเพาะมาก ท้องผูก ท้องเสีย
- โรคภูมิแพ้ หวัดเรื้อรัง หอบหืด
- โรคทางหู เช่น มีเสียงดังผิดปกติในหู หูดับ