CALL: 1792

บทความเพื่อสุขภาพ

ทารกแรกเกิดตัวเหลือง อันตรายหรือเปล่า?

30/03/2564

หากลูกคุณมีอาการหน้าเหลือง ตัวเหลือง มีอาการซึมลง ไม่ดูดนม อาจเสี่ยงภาวะตัวเหลืองในเด็ก ภาวะนี้อันตรายหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ต้องทำอย่างไร คุณหมอ (พญ.ฝ้าย สายสมร )  กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิดและปริกำเนิด คลินิกกุมารเวช รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อยมีคำตอบค่ะ

 ภาวะตัวเหลืองคืออะไร?
ภาวะตัวเหลืองเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด ปกติเด็กทารกทุกคนจะมีอาการตัวเหลือง แต่จะเหลืองมาก เหลืองน้อยแตกต่างกัน เพราะสารสีเหลืองที่เกิดขึ้นในร่างกายเป็นธรรมชาติ

โดยสารสีเหลืองเกิดจากการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง เปลี่ยนไปเป็นสารสีเหลืองที่เรียกว่า บิลิรูบิน ทำให้มีบิลิรูบินในเลือดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสารบิลิรูบินเป็นของเสีย ต้องเข้าผ่านกระบวนการจำกัดของเสียที่ตับ และถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางอุจจาระและปัสสาวะ จึงทำให้อุจจาระและปัสสาวะมีสีเหลือง

ซึ่งโดยทั่วไปทารกแรกเกิดจะตรวจพบภาวะตัวเหลืองได้ตั้งแต่อายุ 2-3 วันหลังคลอด เนื่องจากตับของเด็กทารกยังไม่สามารถทำงานหรือกำจัดของเสียได้อย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นเด็กทารกทุกคนจะมีการตัวเหลืองในช่วงแรกเกิด และระยะเวลาของอาการตัวเหลืองของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ขึ้นกับเม็ดเลือดแดงในร่างกายของใครแตกมากแตกน้อย

ลูกมีภาวะตัวเหลืองหรือเปล่า สังเกตได้ยังไงบ้าง

ส่วนใหญ่ทารกจะเริ่มตัวเหลืองจากใบหน้า แล้วลามไปที่ลำตัวและแขนขา ส่วนอาการอื่น ๆ มักจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องพาลูกไปอยู่ในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อที่จะสังเกตสีผิวของทารกได้อย่างชัดเจน หากทารกมีภาวะตัวเหลืองที่เห็นได้ชัด จะเห็นได้จากตาขาวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และสีผิวของลูกจะค่อนข้างเหลือง

หากคุณพ่อคุณแม่มองสีผิวไม่ชัด ข้อแนะนำ คือให้ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้กดไปที่ผิวหนังของทารก แล้วดึงแยกออกจากกัน แล้วดูผิวหนังที่อยู่ด้านล่าง หากผิวหนังด้านล่างเป็นสีเหลือง แสดงว่าทารกมีอาการตัวเหลือง โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการตัวเหลืองของลูก โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์แรก หากตรวจพบว่ามีภาวะตัวเหลืองเพิ่มมากขึ้น ให้คุณพ่อคุณแม่รีบพาน้องมาโรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยต่อไป

ภาวะตัวเหลืองในเด็ก อันตรายหรือเปล่า?

หากค่าบิลิรูบินในเลือดสูงมากเกินไป ค่าตัวเหลืองอาจจะเกิดการสะสมที่สมอง ทำให้เกิดอาการทางสมองตามมา เช่น ซึม ตัวอ่อน ดูดนมได้น้อย ร้องเสียงแหลม ชักเกร็ง หลังแอ่น และหากไม่ได้รับการรักษาภาวะตัวเหลืองในเด็กอาจเป็นมากขึ้น อาจทำให้ทารกมีอาการพิการทางสมองถาวรได้

การรักษาภาวะตัวเหลืองในเด็ก
การรักษาภาวะตัวเหลืองที่สำคัญคือการส่องไฟ โดยคุณหมอจะใช้หลอดไฟที่เป็นแสงสีฟ้า ซึ่งมีความยาวคลื่นเฉพาะในการส่องไฟ เพื่อลดระดับตัวเหลือง โดยขณะที่ทำการส่องไฟ ลูกจะต้องได้รับการถอดเสื้อผ้าออกจนหมดเพื่อให้ผิวหนังสัมผัสกับแสงไฟมากที่สุด แต่จะมีการปิดตาไว้ เนื่องจกเพื่อป้องกันแสงไฟที่อาจเป็นอันตรายต่อจอประสาทตาของเด็ก และในขณะที่ส่องไฟ ทารกอาจมีภาวะถ่ายเหลว มีผื่น หรือสูญเสียน้ำเพิ่มมากขึ้นได้

ข้อควรระวัง!! การตากแดด หรือการให้ทารกดื่มน้ำ ไม่ได้ช่วยลดอาการตัวเหลือง นอกจากนี้การที่ให้ทารกดื่มน้ำ อาจทำให้ทารกเกิดการอิ่มน้ำ ทำให้ดูดนมได้น้อยลง ทำให้ได้ปริมาณน้ำนมที่ไม่เพียงพอ และเกิดภาวะตัวเหลืองเพิ่มมากขึ้นได้

ติดต่อ รพ. วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย โทร. 02-441-7899 หรือ 1792
หรือติดต่อได้ผ่านช่องทาง Line
หรือสามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ

บทความแนะนำ

16/10/2567

ลมและแดดจ้า ทำลายดวงตากว่าที่คิด ระวัง!! ต้อลม

แสบตา เคืองตา น้ำตาไหล... รู้สึกไม่สบายตา โดยเฉพาะเมื่อเจอลมแรงๆ หรือแสงแดดจ้า ตาแดงก่ำ คันยุบยิบ น้ำตาไหลตลอดเวลา บางครั้งมีขี้ตาเยอะผิดปกต...

16/10/2567

ต้อหิน ไม่เข้าใจ ไม่ระวัง อาจมองไม่เห็นตลอดชีวิต

         "ต้อหิน" ภัยเงียบที่ค่อยๆ ทำลายเส้นประสาทตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว ท...

แพ็คเกจ & โปรโมชั่น