ปวดท้อง อุจจาระมีปนเลือด คุณเสี่ยงแล้วรึยัง!! แพคเกจตรวจคัดกรอง มะเร็งลำไส้และกระเพาะอาหาร http://bit.ly/GastroColono
วันนี้นายแพทย์ จตุชัย เมธาบดี แพทย์ศัลยศาสตร์ทั่วไป รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย จะมาให้ความรู้ เรื่องส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ไปทำไม ?
ผู้ที่มีอาการที่ต้องมาคัดกรองลำไส้ใหญ่
- คนที่อายุมากกว่า 50 ปี
- พันธุกรรม
การส่องกล้องตรวจ ควรทำในผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้
- ปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ มีการแน่นอึดอัดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อร่วมด้วย
- ถ่ายผิดปกติ มีท้องผูกสลับท้องเสีย มีอุจจาระเป็นมูกเลือด
- น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
-ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจทางทวารหนักโดยการส่องกล้องทุกๆ 3-5 ปี
ลักษณะการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่
-กล้องไฟเบอร์ออฟติก ขนาดเล็กสอดผ่านทวานหนักเข้าไป ตลอดความยาวลำไส้ใหญ่ประมาณ 120 ซม. เพื่อดูความผิดปกติของเยื่อบุลำไส้ใหญ่ หากผิดปกติจะตัดชิ้นเนื้อออกไปตรวจว่าเป็นมะเร็งหรือไม่
ขั้นตอนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่มีอะไรบ้าง
-ก่อนตรวจ 3 วัน ทานอาหารที่ไม่มีกาก 1 วัน ก่อนวันตรวจจะได้รับยาเพื่อทำการล้างลำไส้ เช้าของอีกวันนึงก็จะมีการฉีดยานอนหลับ ทำให้ผู้ป่วยไม่มีความเจ็บปวด
-หลังจากที่แพทย์ได้ทำการส่องกล้องเข้าไป อาจจะมีการเป่าลมหรือฉีดน้ำ หลังการตรวจอาจมีอืดแน่นท้องบ้าง ถ้าหากได้รับการตรวจโดยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ อาจจะมีเลือดออกตอนอุจจาระบ้าง 1-2 วัน
-งดน้ำและอาหารที่มีกาก อย่างน้อย 6 ชั่วโมง
อาการหลังส่องกล้อง
สามารถกลับบ้านได้ 2-3 ชั่วโมง หรือหลังจากสังเกตอาการแล้วมีสัญญาณชีพจรปกติ
การดูแลหลังการตรวจ
1. งดน้ำและงดอาหารประมาณหนึ่งชั่วโมง จนกว่าอาการทั่วไปหรือจนกว่าจะรู้สึกตัวเป็นปกติ
2. ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องอืด แน่น เนื่องจากลมที่แพทย์ใส่เข้าไปในลำไส้ ซึ่งจะหายไปในเวลาไม่นาน อาจมีความรู้สึกปวดท้องอยากถ่าย
3. อาจมีเลือดออกปนอุจจาระเล็กน้อยในสองวันแรก (กรณีตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ)
4. หากผู้ป่วยมีอาการปวดท้องเฉียบพลัน มีไข้ หรือเลือดออกจากทางทวารหนักมากกว่าครึ่งถ้วยกาแฟ ควรติดต่อแพทย์โดยด่วน
แสบตา เคืองตา น้ำตาไหล... รู้สึกไม่สบายตา โดยเฉพาะเมื่อเจอลมแรงๆ หรือแสงแดดจ้า ตาแดงก่ำ คันยุบยิบ น้ำตาไหลตลอดเวลา บางครั้งมีขี้ตาเยอะผิดปกต...
"ต้อหิน" ภัยเงียบที่ค่อยๆ ทำลายเส้นประสาทตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว ท...