CALL: 1792

บทความเพื่อสุขภาพ

อาการมือชา

17/12/2562

 อาการมือชา

          อาการมือชาเป็นอาการที่พบบ่อยและเป็นอาการนำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์เป็นอับดับสองรองจากอาการปวดบริเวณมือ นอกจากนี้อาการมือชามักพบร่วมในผู้ป่วยที่มีอาการปวดบริเวณมือ อาการปวดในบริเวณแขน ไหล่และคอด้วย การที่ผู้ป่วยมีอาการมือชานั้นส่วนใหญ่ผู้ป่วยมีความผิดปกติของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณมือ โรคหรือภาวะที่ทำให้เกิดความผิดปกติของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงมือที่พบบ่อยได้แก่

          ๑.  กลุ่มอาการที่เส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับ

          ๒.  ข้อกระดูกคอเสื่อมและมีกระดูกงอกรบกวนหรือกดเส้นประสาท

          ๓.  การบาดเจ็บของเส้นประสาททั้งโดยตรงและโดยอ้อม

          ๔.  เนื้องอกของเส้นประสาท รากประสาท ไขสันหลัง หรือเนื้องอกของเนื้อเยื่ออื่นๆที่อยู่ข้างเคียงระบบประสาท

          ๕.   การติดเชื้อของเส้นประสาท

          ๖.   โรคในระบบอื่นที่มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท เช่น โรคเบาหวาน

กลุ่มอาการที่เส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับ

          กลุ่มอาการนี้เป็นสาเหตุของอาการมิอชาที่พบบ่อยที่สุด เป็นภาวะที่เส้นประสาทส่วนปลายซึ่งทอดตัวจากไขสันหลังบริเวณคอมายังมือถูกกดทับ การกดทับเส้นประสาทมักเกิดในบริเวณที่เส้นประสาทนั้นทอดตัวมาในช่องที่มีขนาดจำกัดระหว่างกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อพังผืดและหรือกระดูก บริเวณที่เส้นประสาทมักถูกกดทับได้แก่บริเวณข้อมือ เส้นประสาทที่มาเลี้ยงผิวหนังด้านฝ่ามือและเลี้ยงกล้ามเนื้อของนิ้วหัวแม่มือถูกกดทับ ผู้ป่วยมักมีอาการฝ่ามือชา อาการไม่สบายในมือ มีความรู้สึกที่ผิดปกติในมือ

ข้อกระดูกคอเสื่อมและมีกระดูกงอกรบกวนหรือกดเส้นประสาท

          รากประสาทส่วนคอออกจากไขสันหลังส่วนคอแล้วรวมตัวเป็นเส้นประสาทโดยผ่านออกมาทางช่องระหว่างกระดูกสันหลัง ข้อของกระดูกคอที่เสื่อมทำให้ช่องระหว่างกระดูกสันหลังแคบลง เกิดการรบกวนหรือกดรากประสาทและเส้นประสาทได้ นอกจากนี้ขบวนการข้อเสื่อมของกระดูกสันหลังทำให้เกิดการสร้างกระดูกที่ผิดปกติในเอ็นโดยรอบช่องระหว่างกระดูกสันหลัง เสริมให้การกดเส้นประสาทมีมากขึ้น ผู้ป่วยมักมีอาการปวดที่คอและมีอาการปวดร้าวมายังไหล่ ต้นแขน แขนท่อนปลายและมือ

การบาดเจ็บของเส้นประสาททั้งโดยตรงและโดยอ้อม

          การบาดเจ็บของเส้นประสาทที่ทำหน้าที่เลี้ยงผิวหนังและกล้ามเนื้อของมือทำให้ผู้ป่วยมีอาการมือชาในตำแหน่งที่เส้นประสาทนั้นๆเลี้ยงร่วมกับมีอาการชา นอกจากนี้อาจพบว่าผู้ป่วยมีอาการปวดในบริเวณที่สัมพันธ์กับเส้นประสาทนั้นๆ ในบางรายอาจกลายเป็นโรคปวดประสาทเรื้อรังที่รุนแรงได้

เนื้องอกของเส้นประสาท รากประสาท ไขสันหลัง หรือเนื้องอกของเนื้อเยื่ออื่นๆที่อยู่ข้างเคียงระบบประสาท

          เนื้องอกที่เกิดขึ้นตามแนวเส้นประสาททั้งจากเนื้องอกของเนื้อเยื่อระบบประสาทที่ไขสันหลัง ที่รากประสาท หรือเส้นประสาท รวมทั้งเนื้องอกของกระดูก กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับเส้นประสาท อาจกดทับเส้นประสาททำให้เส้นประสาทไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้ป่วยมีอาการชา อาการอ่อนแรง

การติดเชื้อของเส้นประสาท

          การติดเชื้อไวรัสบางชนิดของเส้นประสาททำ ให้เส้นประสาทถูกทำลายผู้ป่วยมีอาการชาที่ผิวหนังในบริเวณที่เส้นประสาทที่ติดเชื้อเลี้ยง หากเป็นเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณมือก็ทำให้ผู้ป่วยมีอาการมือชาได้

โรคในระบบอื่นที่มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท

          โรคของระบบอื่นๆอาจมีผลโดยตรงและโดยอ้อมต่อเส้นประสาทและระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ผู้ป่วยมีการทำงานของเส้นประสาทผิดปกติ หากเป็นที่เส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณมือ ก็ทำให้เกิดอาการมือชาได้

 


 

บทความแนะนำ

16/10/2567

ลมและแดดจ้า ทำลายดวงตากว่าที่คิด ระวัง!! ต้อลม

แสบตา เคืองตา น้ำตาไหล... รู้สึกไม่สบายตา โดยเฉพาะเมื่อเจอลมแรงๆ หรือแสงแดดจ้า ตาแดงก่ำ คันยุบยิบ น้ำตาไหลตลอดเวลา บางครั้งมีขี้ตาเยอะผิดปกต...

16/10/2567

ต้อหิน ไม่เข้าใจ ไม่ระวัง อาจมองไม่เห็นตลอดชีวิต

         "ต้อหิน" ภัยเงียบที่ค่อยๆ ทำลายเส้นประสาทตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว ท...

แพ็คเกจ & โปรโมชั่น

แพ็คเกจผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

เปลี่ยน "ข้อเสีย" เป็น "ข้อดี"...

ราคา 185,000 บาท