CALL: 1792

บทความเพื่อสุขภาพ

กายภาพบำบัด คืออะไร ?

22/08/2562

          กายภาพบำบัด คือ การกระทำในการช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อบำบัดรักษา ส่งเสริมป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูการเสื่อมสมรรถภาพ หรือความพิการของร่างกาย หรือจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด ซึ่งได้แก่ การดัด การดึง การประคบ การนวด การบริหารร่างกาย หรืออวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของผู้ป่วย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการกระทำด้วยวิธีการต่างๆ ดังกล่าว ตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธีตามหลักวิทยาศาสตร์ และเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด  เช่น  การออกกำลังกายเพื่อการรักษา การนวด การรักษาด้วยการดัด – ดึง การใช้เครื่องไฟฟ้า ความร้อน – ความเย็นในการรักษา  โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มีสุขภาพและมีความสามารถในการทำงานของร่างกายอย่างเต็มที่

 

กายภาพบำบัดแบ่งออกเป็น
          1
กายภาพบำบัดด้านระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ  

    เช่น  ผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อติดเคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก  มีการปวดที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสมหรือการบาดเจ็บจากการทำงานผู้ป่วยกระดูกหักและหรือได้รับการผ่าตัด

          2. กายภาพบำบัดด้านระบบประสาท  

    ได้แก่  ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหวหรือผู้ที่มีปัญหาจากการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีสาเหตุจากความผิดปกติของระบบประสาท  เช่น  ผู้ป่วยอัมพาตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว  เช่น  สมองพิการแต่กำเนิดผู้ป่วยพาร์กินสัน รวมถึงผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุที่ทำให้สมองหรือไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ

          3. กายภาพบำบัดด้านระบบทรวงอกหลอดเลือดและหัวใจ (ปอดและหัวใจ)  

    ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการหายใจหรือการทำงานของหัวใจ  เช่น  ผู้ป่วยโรคปอดที่มีเสมหะคั่งค้างหรือเกิดการติดเชื้อผู้ป่วยโรคหัวใจ รวมถึงผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังผ่าตัด

          4. กายภาพบำบัดด้านกีฬา  เช่น  การดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพนักกีฬาทั้งก่อนและหลังการแข่งขัน

          5. กายภาพบำบัดในชุมชน  เป็นงานกายภาพบำบัดที่เน้นการทำงานในเชิงรุก เพื่อให้การดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึง  ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ หรือผู้พิการที่ด้อยโอกาสไม่สามารถเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลได้ การให้คำแนะนำแก่ประชาชนในงานส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชน


การรักษาทางกายภาพบำบัด

          การดูแลรักษาผู้ป่วยในแต่ละรายนั้นขึ้นอยู่กับปัญหา ซึ่งนักกายภาพบำบัดได้ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง

  1. Manual therapy
              
    การรักษาด้วยการใช้มือในการปรับโครงสร้างของข้อต่อกระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นประสาทให้อยู่ในสภาวะตำแหน่งที่เหมาะสมกับการรักษาและการใช้งาน ซึ่งต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์สรีระวิทยา ซึ่งมีเทคนิคหลายเทคนิค  เช่น
                     Mobilization  :  
    เป็นการขยับข้อต่อให้หายจากการติดขัดหรืออาการเจ็บปวด
                     Manipulation  :  
    เป็นดัด / ขยับข้อต่ออย่างเร็วและแรง แต่อยู่ในช่วงการเคลื่อนไหวสั้นๆ เพื่อให้ข้อต่อขยับเข้าที่ที่ควรจะเป็น

              Massage  :  การนวดกดจุดและผ่อนคลาย ลดการตึงรั้งของพังผืด และกล้ามเนื้อ

    2. Exercises
             
    การออกกำลังกาย  ที่เหมาะสม และถูกต้องกับอาการของผู้รับการรักษาแต่ละคน ซึ่งจะสามารถทำให้อาการเจ็บปวดทุเลาและดีขึ้นได้ และเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 

            3. Modalities การใช้เครื่องมือในการรักษา

     การใช้คลื่นเสียงในการรักษา (Ultrasound therapy)

      - การใช้เครื่องดึงหลัง – ดึงคอ (Traction)

     - การใช้ความร้อน – ความเย็นในการรักษา

      - การใช้กระแสไฟฟ้าในการรักษา

 

ภาวะโรคที่สามารถรับการรักษาทางภายภาพบำบัด

1. ผู้ป่วยระบบประสาท
              - 
ผู้ป่วยอัมพฤต อัมพาต (Stroke, Brain injury, Cord injury)

           ผู้ป่วยพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)

 

2. ผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 
                          - 
กลุ่มอาการปวดคอ ปวดบ่อ (Neck pain)
                          - 
กลุ่มอาการปวดชาจากกระดูกคอเลื่อน (C-Spondylosis)
                          - 
กลุ่มอาการชาจากเส้นประสาทถูกกดทับ (Nerve compression)
                          - 
กลุ่มอาการจากหมอนรองกระดูกเสื่อม (Spondylosis) / เคลื่อน (Herniated disc)
                          - 
กลุ่มอาการปวดชาจากกระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondyl disthesis)
                          - 
กลุ่มอาการปวดหัวไหล่ (Shoulder pain), ข้อไหล่ติด (Frozen shoulder)
                          - 
กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อข้อศอก (Tennis elbow, Gofer’s elbow)
                          - 
กลุ่มอาการปวดมือนิ้วมือ (CTS, Trigger finger)
                          - 
กลุ่มอาการปวดข้อเข่า (Knee pain, Osteoarthritis)
                          - 
กลุ่มอาการข้อเท้าส้นเท้า (Ankle sprain, Plantar fascialtis)
                          - 
กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน (Muscle sprain)
                          - 
กลุ่มอาการกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome)
                          - 
กลุ่มผู้ป่วยกระดูกหัก ใส่เฝือก / ดามเหล็ก (Fracture)

 

 

3. ผู้ป่วยระบบทรวงอก ปอด และหัวใจ
         - 
ผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด
         -
ผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD)
        - 
ผู้ป่วยปอดอักเสบ (Pneumonia)

 

บทความแนะนำ

16/10/2567

ลมและแดดจ้า ทำลายดวงตากว่าที่คิด ระวัง!! ต้อลม

แสบตา เคืองตา น้ำตาไหล... รู้สึกไม่สบายตา โดยเฉพาะเมื่อเจอลมแรงๆ หรือแสงแดดจ้า ตาแดงก่ำ คันยุบยิบ น้ำตาไหลตลอดเวลา บางครั้งมีขี้ตาเยอะผิดปกต...

16/10/2567

ต้อหิน ไม่เข้าใจ ไม่ระวัง อาจมองไม่เห็นตลอดชีวิต

         "ต้อหิน" ภัยเงียบที่ค่อยๆ ทำลายเส้นประสาทตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว ท...